วันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

รวมเหรียญแปลก ๆ ในโลก

รวมข้อมูลเหรียญกษาปณ์

    9 ชนิดเหรียญกษาปณ์ชุดใหม่ เตรียมหมุนเวียนให้ปชช.ใช้แล้ว ชูเหรียญ 2 บาท"สีทอง

    9 ชนิดเหรียญกษาปณ์ชุดใหม่ เตรียมหมุนเวียนให้ปชช.ใช้แล้ว ชูเหรียญ 2 บาท"สีทอง"เริ่มใช้ 3 ก.พ.

    "กรมธนารักษ์"ออกเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน 9 ชนิด เกือบ 2 พันล.เหรียญ อ้างลดต้นทุน เผยยังใช้หยอดจ่ายค่ารถไฟฟ้า-รถใต้ดินไม่ได้

    นพ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ว่า ปี 2552 กรมธนารักษ์ตั้งเป้าหมายจะออกเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชุดใหม่ 9 ชนิดราคา รวม 1,956 ล้านเหรียญ ประกอบด้วย เหรียญ 2 บาทรุ่นใหม่ ที่มีสีทอง 240 ล้านเหรียญ จะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์นี้ ส่วนเหรียญ 1 บาท ตั้งเป้าหมายผลิตใหม่ 960 ล้านเหรียญ คาดว่าเริ่มนำออกมาใช้ได้ในเดือนกันยายน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการประกวดราคา ส่วนเหรียญ 5 บาท จะผลิตใหม่ 276 ล้านเหรียญ เริ่มใช้ในเดือนเมษายน เหรียญ 10 บาท ผลิตใหม่ 120 ล้านเหรียญ เริ่มใช้ในเดือนมิถุนายน ขณะที่เหรียญ 50 สตางค์ ผลิตใหม่ 180 ล้านเหรียญ และเหรียญ 25 สตางค์ ผลิตใหม่ 216 ล้านเหรียญ คาดว่าจะเริ่มนำมาใช้ได้ในเดือนกุมภาพันธ์นี้
    นพ.พฤฒิชัย กล่าวอีกว่า ปัญหาตอนนี้คือ เหรียญรุ่นใหม่ยังไม่สามารถใช้กับเครื่องหยอดเหรียญ เช่น จ่ายค่ารถไฟฟ้า หรือรถไฟใต้ดินได้ โดยยังอยู่ระหว่างการซักซ้อมความเข้ากับผู้ประกอบการ เพื่อขอให้ปรับระบบเพื่อรองรับรูปแบบเหรียญที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น เหรียญ 5 บาท จะมีขนาดเท่าเดิม แต่น้ำหนักจะเบากว่ามาก ขณะที่เหรียญ 50 สตางค์และ 25 สตางค์ จะเปลี่ยนวัสดุจากอะลูมิเนียมบรอนซ์ เป็นไส้เหล็ก ชุบทองแดง จึงทำให้สีของเหรียญ 50 สตางค์ และ 25 สตางค์ เปลี่ยนจากสีทอง เป็นสีทองแดงมากขึ้น 
    "สาเหตุที่มีการผลิตเหรียญกษาปณ์ชุดใหม่ครั้งนี้ เพราะต้องการลดต้นทุนการผลิตเหรียญลง เนื่องจากราคาโลหะที่ใช้ผลิตเหรียญกษาปณ์ในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น และผลจากการปรับซีรีส์เหรียญใหม่ครั้งนี้ ทำให้กรมธนารักษ์สามารถลดต้นทุนการผลิตเหรียญในปี 2552 ได้ถึง 15%" นพ.พฤฒิชัย กล่าว

    คลังผลิตธนารักษ์ศึกษาปั๊มเหรียญ20-50-100บาท

    คมชัดลึก :คลัง สั่งธนารักษ์ศึกษาเตรียมพร้อมผลิตเหรียญ 20-50-100 บาท ใช้แทนธนบัตรรับเศรษฐกิจฟื้นตัวปีหน้า ระบุต้นทุนถูก-คงทนกว่านานนับสิบปี เตรียมถกแบงก์ชาติ-สภาพัฒน์ถึงผลดีผลเสีย หวั่นถูกมองเงินมีค่าน้อยลง 
    แนวคิดที่กระทรวงการคลัง จะผลิตเหรียญ 20, 50, และ 100 บาท เพื่อใช้แทนธนบัตร ยังเป็นข้อถกเถียงที่หาข้อยุติไม่ได้ โดยล่าสุดนายประสิทธิ์ สืบชนะ โฆษกกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังมีนโยบายให้กรมธนารักษ์ศึกษาการผลิตเหรียญกษาปณ์ 20, 50 และ 100 บาท เพื่อนำออกใช้ในระบบแทนการผลิตธนบัตร และถือเป็นการเตรียมความพร้อมในการรองรับระบบเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังขยาย ตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยหากเศรษฐกิจของประเทศเติบโตในระดับที่เหมาะสมจะได้เริ่มผลิตออกใช้ ซึ่งปี 2553 มองว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัว จึงน่าจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม เหมือนกับประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งสหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น เช่น ญี่ปุ่นจะมีการผลิตเหรียญ 100 เยนออกใช้ เนื่องจากค่าเงินของญี่ปุ่นแข็งค่ามากเหมือนกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ

     ดังนั้นจะเห็นว่าปัจจุบันเหรียญที่มีมูลค่าน้อย ประชาชนจะเริ่มไม่ค่อยนำมาใช้จ่ายในระบบกันมากนัก เช่น เหรียญ 25 หรือ 50 สตางค์ แม้กระทั่งเหรียญ 1 บาท ในปัจจุบันจะถูกมองว่ามีค่าน้อยมาก เมื่อค่าครองชีพสูงขึ้น ราคาสินค้าแพงขึ้น เหรียญ 5, 10, 20, 50 จะถูกใช้แลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้ามากขึ้น แต่แนวทางดังกล่าวต้องหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ให้ชัดเจนก่อน เพราะการผลิตเหรียญ 20, 50 และ 100 บาทออกมาใช้แทนการผลิตธนบัตรของ ธปท.ต้องศึกษาผลดีผลเสียก่อน โดยเฉพาะปัญหาเงินเฟ้อที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาด้วย และอาจทำให้เงินเหรียญถูกมองว่ามีค่าน้อยลง จึงต้องศึกษาให้รอบคอบอีกครั้ง

     อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่าน ธปท.โอนหน้าที่ให้ธนารักษ์ผลิตเหรียญ 10 บาทแทนธนบัตรใบละ 10 บาท ตั้งแต่ปี 2532 หรือเป็นเวลาถึง 13 ปี มาแล้ว ในช่วงแรกประชาชนจะไม่ค่อยคุ้นเคย และจะรู้สึกแปลกๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็ชินกับการใช้เหรียญ 10 บาท อีกทั้งธนบัตร 10 บาท มีอายุใช้งานได้เพียง 6-8 เดือน ขณะที่เหรียญ 10 บาท มีอายุใช้งานได้ถึง 10 ปี หากไม่ถูกทำลายให้บุบสลาย และยังมีต้นทุนการผลิตถูกกว่าธนบัตร โดยช่วงแรกที่ผลิตมีต้นทุนเพียง 3 บาท แต่ปัจจุบันต้นทุนเพิ่มเป็น 5 บาท จึงต้องปรับปรุงระบบการผลิตเหรียญกษาปณ์ หรือเปลี่ยนซีรีส์เหรียญแบบใหม่ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจใน ปัจจุบันซึ่งเริ่มผลิตออกมาใช้เมื่อเร็วๆ นี้

    เหรียญ 5 บาทนิวซีรีส์...แม่ค้าไม่คุ้น




    คมชัดลึก : นับตั้งแต่กรมธนารักษ์ทยอยนำเหรียญชุดใหม่ (เหรียญนิวซีรีส์) ออกมาใช้ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยปรับปรุงใหม่ทั้งเหรียญ 1บาท 2 บาท 5 บาท และ 10 บาท ปรากฏว่าประชาชนยังสับสน หลายคนไม่กล้าใช้คิดว่าเป็นเหรียญปลอม โดยเฉพาะเหรียญ 5 บาท ที่มีขนาดบางและเบาลงกว่าเดิมมาก นอกจากนี้ ยังไม่สามารถนำไปหยอดในตู้ซื้อสินค้าบางชนิดได้ เช่น ตู้น้ำอัดลม ตู้ซื้อตั๋วรถไฟฟ้าบีทีเอส ฯลฯ 
    "วรรณา ยินดียั่งยืน" ผอ.ส่วนวางแผนพัฒนาและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักกษาปณ์ กรมธนารักษ์ เล่าว่า ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2552 เป็นต้นมา กรมธนารักษ์ได้ผลิตเหรียญนิวซีรีส์ หรือเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนรุ่นใหม่ออกมาใช้ ขณะนี้ในตลาดมีครบทุกเหรียญแล้ว แต่ปริมาณไม่เท่ากัน แบ่งเป็นเหรียญ 25 สตางค์ 25 ล้านเหรียญ 50 สตางค์ 29 ล้านเหรียญ 1 บาท 19 ล้านเหรียญ 2 บาท 241 ล้านเหรียญ 5 บาท 229 ล้านเหรียญ และ 10 บาท 10 ล้านเหรียญ สำหรับสาเหตุที่ต้องเปลี่ยนรูปโฉมผลิตเหรียญ 2 บาทใหม่ และผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดก็เพราะที่ผ่านมาประชาชนสับสนระหว่างเหรียญ 2 บาทกับ 1 บาท เนื่องจากมีสีเงินและขนาดใกล้เคียงกันมาก กรมธนารักษ์จึงพยายามเรียกเก็บเหรียญ 2 บาทเดิม แล้วผลิตเหรียญ 2 บาทใหม่สีเหลืองทองออกมาใช้แทน

     "ตอนนี้ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องเหรียญ 2 บาทแล้ว เพราะเปลี่ยนสีไปเลย จากสีเงินที่มีส่วนประกอบโลหะนิกเกิลชุบเคลือบไส้เหล็กมาเป็นอะลูมิเนียม บรอนซ์ ทำให้มีสีเหลืองทอง เส้นผ่าศูนย์กลางเท่าเดิม แต่น้ำหนักลดลงจาก 4.4 กรัม เป็น 4.0 กรัม พอเปลี่ยนสีให้แตกต่างจากเหรียญ 1 บาทแล้ว ชาวบ้านก็ชอบ" วรรณา กล่าว

     อย่างไรก็ดี สำหรับเหรียญ 5 บาทใหม่กลับพบว่า กรมธนารักษ์ได้รับการร้องเรียนเข้ามามาก เนื่องจากน้ำหนัดลดลงทำให้เหรียญบาง ไม่หนาเหมือนเดิม จนมีข่าวลือในแถบภาคใต้ว่าเป็นเหรียญปลอม เวลาซื้อของพ่อค้าแม่ค้าไม่ยอมรับ ดังนั้น กรมธนารักษ์จึงพยายามชี้แจงว่าเป็นการลดต้นทุนการผลิต ใช้วัสดุเหมือนเดิมคือคิวโปรสอดไส้ทองแดง เพียงแต่เหรียญ 5 บาทซีรีส์ใหม่จะมีน้ำหนักแค่ 6.0 กรัม ต่างจากรุ่นเก่าที่หนัก 7.5 กรัม ส่วนเรื่องการหยอดตู้อัตโนมัติไม่ได้นั้น กรมธนารักษ์ได้ประสานผู้ผลิตตู้ให้เร่งปรับเครื่องรองรับเหรียญรุ่นใหม่แล้ว

     ส่วนเหรียญ 1 บาทใหม่จะแตกต่างจากเดิมคือ น้ำหนักน้อยกว่า 0.4 กรัม และเปลี่ยนจากเนื้อโลหะคิวโปรนิกเกิลเป็นนิกเกิลชุบเคลือบไส้เหล็ก ผอ.ส่วนวางแผนพัฒนาฯ อธิบายเพิ่มเติมว่า เพื่อลดต้นทุนการผลิต เนื่องจากเหรียญ 1 บาทชุดเดิม มีต้นทุนการผลิตเกือบ 2 บาทต่อเหรียญ ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักสากล ที่ระบุให้มูลค่าวัสดุที่ใช้ผลิตเหรียญกษาปณ์แต่ละชนิด ไม่ควรเกินร้อยละ 40 ของราคาเหรียญ เช่น เหรียญ 1 บาท ต้องใช้มูลค่าโลหะที่ผลิตไม่เกิน 40 สตางค์ เป็นการป้องกันคนเอาเหรียญไปหลอมละลายทำเป็นสินค้าอย่างอื่น

     ทั้งนี้ เหรียญนิวซีรีส์ทุกรุ่นได้เปลี่ยนแปลงพระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวงด้วย โดยเปลี่ยนให้เป็นรูปแบบพระชนมายุปัจจุบันมากขึ้น เพราะเหรียญชุดเดิมใช้มากว่า 20 ปีแล้ว ส่วนลวดลายด้านหน้าและด้านหลังของเหรียญยังคงเหมือนเดิม เพียงแค่ปรับปรุงให้สวยงามคมชัดมากขึ้น

     "ขอให้ประชาชนอย่าเก็บสะสมเหรียญไว้ในบ้าน หากอยากออมเงินให้มาแลกเป็นธนบัตรไปเก็บ เพราะกรมธนารักษ์ต้องผลิตเหรียญใหม่ออกมาใช้แทนเหรียญเก่าที่หายไปจากตลาด การผลิตเหรียญโลหะเป็นการใช้ต้นทุนสิ่งแวดล้อมสูง ทั้งกระบวนการขุดเจาะหาแหล่งแร่โลหะ การถลุงโลหะ การหลอมโลหะ ฯลฯ ขั้นตอนเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น และประเทศไทยต้องซื้อเหรียญจากผู้ผลิตในต่างประเทศ ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ ถ้าทุกคนนำเหรียญเก่ามาหมุนเวียนใช้อย่างต่อเนื่อง ก็ไม่ต้องผลิตเหรียญใหม่ ไม่ต้องขุดวัตถุดิบจากธรรมชาติมาใช้มากเกินความจำเป็น ถือว่าช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมทางอ้อม" ผอ.ส่วนวางแผนพัฒนาฯ กล่าว

     ด้าน "จิราวุธ ตันตระกูล" ผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมเหรียญกษาปณ์แห่งประเทศไทย กล่าวถึงปัญหาของการใช้เหรียญซีรีส์ใหม่คือเรื่องน้ำหนัก เพราะตู้หยอดเหรียญอัตโนมัติจะรับเหรียญโดยคำนวณจากเส้นผ่าศูนย์กลางและ น้ำหนัก หากผิดไปจากที่ตั้งโปรแกรมไว้ก็จะหล่นออกมา ส่วนตัวเห็นด้วยที่เปลี่ยนสีเหรียญ 2 บาทเป็นแบบใหม่ ป้องกันความสับสนกับเหรียญบาท ส่วนเหรียญ 5 บาทตอนนี้ประชาชนยังไม่เคยชิน แต่สักพักปัญหาต่างๆ จะหมดไป และเหรียญ 5 บาทเดิมก็จะเริ่มหมดไปจากตลาดด้วย

     "เหรียญ 5 บาทผลิตเกือบทุกปี ประมาณปีละ 30-100 ล้านเหรียญ คนที่สะสมจะเลือกรุ่นที่ผลิตน้อย เช่น เหรียญ 5 บาทปี 2546 ผลิตแค่ 182,000 เหรียญ สังเกตปีที่ผลิตได้จากตัวเลข พ.ศ.ที่ปั๊มอยู่ด้านหลังของเหรียญทุกอัน แม้หน้าเหรียญจะปั๊มราคาแค่ 5 บาท แต่ราคาที่นักสะสมซื้อคือเหรียญละ 50 บาท ซึ่งหาไม่ค่อยเจอแล้วเพราะผลิตน้อยมาก" จิราวุธ ระบุ

     ทั้งนี้ เว็บไซต์นักสะสมเหรียญหลายแห่ง ได้นำเหรียญกษาปณ์รุ่นต่างๆ มาประกาศขายกันอย่างคึกคัก โดยเหรียญ 5 บาทในปี 2546 มีการประกาศขายราคาเหรียญละ 150 บาท ส่วนเหรียญ 2 บาทบางรุ่นราคาสูงถึง 50 บาท

     เจ้าหน้าที่ศูนย์ฮอตไลน์ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือรถไฟฟ้าบีทีเอส ชี้แจงถึงกรณีที่ไม่สามารถใช้เหรียญ 5 บาทกับเครื่องซื้อตั๋วอัตโนมัติว่า ขณะนี้ศูนย์วิศวกรรมของบริษัทยืนยันว่า กำลังมีการปรับปรุงระบบใหม่ทั้งหมด เพื่อทำให้เหรียญ 5 บาทซีรีส์ใหม่สามารถใช้ได้กับทุกเครื่องแล้ว

    ธนารักษ์ยันเหรียญบาทใหม่เป็นของจริง

    ธนารักษ์ยันเหรียญบาทใหม่เป็นของจริง


    นายเทวัญ วิชิตะกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ ชี้แจงกรณีที่มีประชาชนเข้าใจผิดว่าเหรียญราคา 1 บาท ที่ใช้อยู่ในท้องตลาดเป็นเหรียญปลอม โดยยืนยันว่า เหรียญดังกล่าวเป็นเหรียญที่กรมธนารักษ์ผลิตออกใช้แทนเหรียญ 1 บาทเดิม แต่น้ำหนักเหรียญรุ่นใหม่ ซึ่งนำออกมาใช้ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เกือบ 100 ล้านเหรียญ หรือคิดเป็น 1% ของเหรียญบาทรุ่นเดิม ซึ่งเหรียญรุ่นใหม่นี้จะมีน้ำหนักเบาและแวววาวสวยงามกว่าเหรียญรุ่นเก่า ความนูนของลวดลายน้อยกว่าเหรียญรุ่นเดิม

    "ประชาชนอาจจะยังไม่ทราบว่ามีเหรียญ 1 บาทรุ่นใหม่ออกใช้แล้ว ซึ่งเหรียญใหม่เป็นเหรียญนิกเกิลไส้เหล็ก และมีน้ำหนัก 3 กรัม โดยเหรียญรุ่นใหม่จะใช้ควบคู่กับเหรียญรุ่นเดิมในระบบเศรษฐกิจ" นายเทวัญกล่าว

    ทั้งนี้ เมื่อต้นเดือนกันยายน ที่ผ่านมา กรมธนารักษ์ได้เชิญผู้ประกอบการตู้โทรศัพท์สาธารณะ และผู้ประกอบการเครื่องหยอดเหรียญร่วมประชุมหารือและรับทราบรายละเอียด เกี่ยวกับการออกใช้เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะเหรียญ 1 บาท และ 5 บาท ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องปรับปรุงตู้หยอดเหรียญให้สามารถรับเหรียญใหม่ได้ด้วย เช่น ตู้โทรศัพท์สาธารณะ ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ และตู้ขายสินค้า ซึ่งสรุปผลการหารือผู้ประกอบการจะปรับระบบเครื่องให้สามารถรองรับการใช้ เหรียญทั้งรุ่นเดิมและรุ่นใหม่ได้ โดยคาดว่าจะแก้ไขเครื่องให้แล้วเสร็จประมาณกลางปี 2553

    คลังสั่งศึกษาผลิตเหรียญ 20 บาท

    คลังสั่งศึกษาผลิตเหรียญ 20 บาท


    แนว คิดที่กระทรวงการคลัง จะผลิตเหรียญ 20, 50, และ 100 บาท เพื่อใช้แทนธนบัตร ยังเป็นข้อถกเถียงที่หาข้อยุติไม่ได้ โดยล่าสุดนายประสิทธิ์ สืบชนะ โฆษกกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังมีนโยบายให้กรมธนารักษ์ศึกษาการผลิตเหรียญ กษาปณ์ 20, 50 และ 100 บาท เพื่อนำออกใช้ในระบบแทนการผลิตธนบัตร และถือเป็นการเตรียมความพร้อมในการรองรับระบบเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังขยาย ตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยหากเศรษฐกิจของประเทศเติบโตในระดับที่เหมาะสมจะได้เริ่มผลิตออกใช้ ซึ่งปี 2553 มองว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัว จึงน่าจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม เหมือนกับประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งสหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น เช่น ญี่ปุ่นจะมีการผลิตเหรียญ 100 เยนออกใช้ เนื่องจากค่าเงินของญี่ปุ่นแข็งค่ามากเหมือนกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ




    ดังนั้นจะเห็นว่าปัจจุบันเหรียญที่มีมูลค่าน้อย ประชาชนจะเริ่มไม่ค่อยนำมาใช้จ่ายในระบบกันมากนัก เช่น เหรียญ 25 หรือ 50 สตางค์ แม้กระทั่งเหรียญ 1 บาท ในปัจจุบันจะถูกมองว่ามีค่าน้อยมาก เมื่อค่าครองชีพสูงขึ้น ราคาสินค้าแพงขึ้น เหรียญ 5, 10, 20, 50 จะถูกใช้แลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้ามากขึ้น แต่แนวทางดังกล่าวต้องหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ให้ชัดเจนก่อน เพราะการผลิตเหรียญ 20, 50 และ 100 บาทออกมาใช้แทนการผลิตธนบัตรของ ธปท.ต้องศึกษาผลดีผลเสียก่อน โดยเฉพาะปัญหาเงินเฟ้อที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาด้วย และอาจทำให้เงินเหรียญถูกมองว่ามีค่าน้อยลง จึงต้องศึกษาให้รอบคอบอีกครั้ง

    อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่าน ธปท.โอนหน้าที่ให้ธนารักษ์ผลิตเหรียญ 10 บาทแทนธนบัตรใบละ 10 บาท ตั้งแต่ปี 2532 หรือเป็นเวลาถึง 13 ปี มาแล้ว ในช่วงแรกประชาชนจะไม่ค่อยคุ้นเคย และจะรู้สึกแปลกๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็ชินกับการใช้เหรียญ 10 บาท อีกทั้งธนบัตร 10 บาท มีอายุใช้งานได้เพียง 6-8 เดือน ขณะที่เหรียญ 10 บาท มีอายุใช้งานได้ถึง 10 ปี หากไม่ถูกทำลายให้บุบสลาย และยังมีต้นทุนการผลิตถูกกว่าธนบัตร โดยช่วงแรกที่ผลิตมีต้นทุนเพียง 3 บาท แต่ปัจจุบันต้นทุนเพิ่มเป็น 5 บาท จึงต้องปรับปรุงระบบการผลิตเหรียญกษาปณ์ หรือเปลี่ยนซีรีส์เหรียญ แบบใหม่ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจใน ปัจจุบันซึ่งเริ่มผลิตออกมาใช้เมื่อเร็วๆ นี้