วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วิธีการตรวจสอบเหรียญ 1 บาท ร.5


วันนี้จะขอยก เอาเรื่องของเหรียญกษาปณ์เหรียญหนึ่ง สมัย ร.5  ราคาหน้าเหรียญ 1 บาท เนื้อเงิน ปี ร.ศ. 127 ด้านหน้าเป็น รูป ร.5 หันข้าง อีกด้านเป็นรูป ช้างสามเศียร ที่พวกเรามีกันทุกบ้าน ทุกครัวเรือน แทบจะเรียกว่าเป็นเหรียญสามัญประจำบ้านเลยทีเดียวก็ว่าได้ครับ  เรามาพูดถึงประวัติของเหรียญนี้โดยคร่าวๆก่อนละกันนะครับ เหรียญนี้ผลิตจาก โรงกษาปณ์ของประเทศฝรั่งเศส เดิมมีความประสงค์ผลิตมาเพื่อออกใช้เป็นเหรียญหมุนเวียนทั่วๆไปครับ แต่เนื่องจากทางประเทศฝรั่งเศสส่งมาล่าช้ากว่ากำหนดมาก ทำให้สิ้นรัชกาลก่อนที่จะนำออกใช้ จึงนำเหรียญนี้มาแจกในงานพระบรมศพของ ร.5 เพราะฉะนั้นส่วนมากเหรียญนี้จะอยู่ในบ้านของ ขุนนางเก่า เชื้อพระวงศ์ ฯลฯ ถ้าพูดถึงจำนวนผลิตแล้วผมคิดว่าไม่ น่าจะน้อยกว่า 10,000 เหรียญ เพราะมีให้พบเห็นบ่อยมากๆ แต่เนื่องจากระยะเวลาที่ผ่านมานานนับร้อยปี และเป็นเหรียญที่บล็อคสวย เริ่มหายากมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมในวงการพระเครื่องอย่างสูง ในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์ ขลัง อีกทั้งมีความเชื่อของบรรดานักเสี่ยงโชคชาวไทยทั้งหลายที่เชื่อว่าถ้านำ เหรียญรุ่นนี้ของแท้ไปทำพิธีขอเลขเด็ดแล้วจะให้เลขเด็ดที่แม่นมาก ทำให้ยิ่งเพิ่มความต้องการมากขึ้นไปอีก และเป็นเรื่องธรรมดาครับ ของทุกอย่างเมื่อมีราคาสูงก็จะเริ่มมีของปลอมออกสู่ท้องตลาด ขณะนี้เหรียญแท้ปัจจุบัน ราคาอยู่ที่ 20,000-150,000 บาท ขึ้นอยู่กับสภาพความสวยงามครับ เหรียญรุ่นนี้มีปลอมหลายบล็อคหลายค่ายมากๆครับ มีตั้งแต่ปลอมง่ายๆถูกๆ ไปจนถึงปลอมแบบแนบเนียนแทบหาจุดต่างไม่ได้ ผมก็พยายามหารูปของแท้มาให้แล้ว แต่ว่าเหรียญแท้สภาพสวยๆไม่ผ่านการใช้งานมันหายากจริงๆครับ  ส่วนรูปเหรียญปลอมที่หามาเทียบเป็นเหรียญปลอมรุ่นที่ปลอมแบบง่ายๆ และมีมากที่สุดครับ เห็นตามท้องตลาดขายกันตั้งแต่ 20 บาท ขึ้นไปครับ 
            ทีนี้ผมก็ จะพูดถึงวิธีการดูเหรียญรุ่นนี้เบื้องต้นก่อนละกันนะครับ เพราะเหรียญรุ่นนี้ผมขอบอกเลยว่า ถ้าเป็นเหรียญที่ปลอมออกมารุ่นหลังๆปราบเซียนจริงๆครับ  ทำ ได้เหมือนมากๆแทบไม่มีข้อแตกต่างๆเลย ต้องสังเกตเอาจากจุดเล็กๆ ซี่งตัวผมเองก็ยอมรับว่าตรงจุดนี้ยังไม่ค่อยแม่นครับ แต่ถ้าเป็นจุดใหญ่ๆทีพอจะตัดเหรียญปลอมออกไปได้ซัก 90 % นั้นผมพอบอกได้ครับ และหลักการง่ายนำไปใช้ได้จริงๆครับ อ้อ!แล้วก็อีกอย่างนึงที่ขอบอกนะครับ เหรียญรุ่นนี้มีปลอมมานานมากๆ ไม่น้อยกว่า 60-70 ปี ดังนั้นถ้าเกิดเห็นว่าเป็นของเก่าแก่ในบ้าน สมัย ปู่ ย่า ตา ยาย ก็ไม่แน่ว่าจะแท้เสมอไปครับ เหรียญนี้ต้องคิดไว้เสมอครับ 10,000 เหรียญ มีโอกาสแท้แค่เหรียญเดียวนะครับ 
วิธีการตรวจสอบขั้นตอนที่ 1
             เหรียญรุ่นนี้ด้านหัว และก้อยจะตรงกันข้ามกันครับ ลองพลิกดูนะครับ ถ้าเหรียญ 2 ด้านหัวตรงกันแสดงว่าปลอม 100% ครับ
วิธีการตรวจสอบขั้นตอนที่ 2
            ลองเทียบ ดูกับเหรียญแท้ในรูปที่ผมลงไว้ในบทความนี้ ถ้ามีจุดแตกต่างกันมากๆแสดงว่าใช้ไม่ได้แล้วครับ  ฟัน ธงไปเลยว่าปลอม 100 % ไม่ต้อง เสียดายครับ เค้ามีกันทุกบ้าน
วิธีการตรวจสอบขั้นตอนที่ 3
            ถ้าผ่าน ขั้นตอนที่ 2 มาได้แล้วก็ลองเอาเหรียญวางลงกับพื้นอะไรก็ได้ครับ ที่เป็นลักษณะพื้นเรียบๆ แล้วจับหมุนเลยครับ ถ้าหมุนติ้วๆ เหมือนลูกข่างแสดงว่าไม่ใช่ครับ เหรียญแท้จะต้องเรียบติดไปกับพื้นเลยครับ หมุนไม่ไปครับ 
 วิธีการตรวจสอบขั้นตอนที่ 4
            ถ้าผ่าน ขั้นตอนที่ 3  ขั้นตอนต่อไปก็ คือ ชั่งน้ำหนักครับ เหรียญรุ่นนี้น้ำหนักแท้จริง 15 กรัม พอดิบพอดี แต่ก็มีความเป็นไปได้ครับ ที่จะบวกลบนิดหน่อย ช่วงประมาณไม่เกิน 14.5– 15.5 กรัมถึงจะพอมีสิทธิ์ครับ   



วิธีการตรวจสอบขั้นตอนที่ 5
                เหรียญที่ผ่านมา ถึงขั้นตอนนี้ได้จะมีน้อยละครับ ขั้นตอนเบื้องต้นขั้นสุดท้ายนี้ก็คือ ให้ดูที่ขอบเฟืองของเหรียญครับ ระหว่างช่องฟันเฟืองจะมีขีดตรงกลางทุกช่องซึ่งเกิดมาจากบล็อกที่พิมพ์ครับ ผมขออนุญาตใช้เหรียญ 1 บาท สมัย ร.6  ถ่ายรูปให้ดู เทียบนะครับ เพราะผลิตจาก โรงกษาปณ์ฝรั่งเศสเหมือนกันครับ ข้างในช่องฟันเฟืองจะมีขีดเหมือนกัน

วิธีการตรวจสอบขั้นตอนที่ 6
ถ้าหากเหรียญของท่านผู้อ่าน ผ่านมาได้ถึง 5 ขั้นตอน มีโอกาสถึง 70 % ครับที่ จะเป็นเหรียญแท้ แต่ก็อย่างที่ว่าล่ะครับเหรียญปราบเซียนรุ่นนี้ทำได้แนบเนียนมากๆ เพราะฉะนั้นท่านที่ผ่านมาได้ทั้ง 5 ขั้นตอน จึงสมควรถือออกไปหาบรรดาเซียนๆทั้งวงการพระ และวงการเหรียญ เพื่อให้ตรวจพิสูจน์เบื้องลึกขั้นสุดท้าย หรือจะติดต่อมาให้ทางเวปไซต์เอ็มพีคอยตรวจสอบให้ก็ได้ครับ

                ท่านที่ ตรวจสอบแล้วไม่ผ่านขั้นตอนใดก็ตามไม่ต้องเสียใจครับ คิดเอาไว้เสมอว่าทุกๆวันก็มีคนพบเหตุการณ์เดียวกับเราทั่วประเทศไทย ไม่น้อยกว่า 100 รายครับ 

http://www.mpcoin2007.com/index.php?mo=3&art=286474

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น