วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

พระพุทธชินราช รุ่นพ่อ วัดแจ้งศิริสัมพันธ์ จ.นนทบุรี

พระพุทธชินราช รุ่นพ่อ วัดแจ้งศิริสัมพันธ์ จ.นนทบุรี
"วันมาฆบูชา" เป็นอีกวันสำคัญของชาวพุทธ ซึ่งทุกปีของวันนี้ตามวัดวาอารามและสถานที่ทางพุทธศาสนามีการจัดงานบุญเพื่อ รำลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งถือเป็นวันคล้ายวันสำคัญมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ที่มีพระสงฆ์จำนวน 1,250 รูปมารวมตัวกันโดยไม่ได้นัดหมายเพื่อเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย และพระพุทธองค์ก็ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุมต่อพระสงฆ์ที่มาเข้าเฝ้า
พระพุทธชินราช รุ่นพ่อสำหรับ วัดแจ้งศิริสัมพันธ์ จ.นนทบุรี ร่วมสืบสานจัดงานวันมาฆบูชาตั้งแต่ วันที่ 26-28 ก.พ.2553 ซึ่งเจ้าภาพการจัดงานคือโหรพุทธพร แข็งแรง ตลอด ทั้ง 3 วันงานจะเริ่มตั้งแต่ช่วงเช้า เวลา 07.00 น. ถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์, พิธีสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ และพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์มากมายที่อัญเชิญมา และหลังจากถวายภัตตาหารเพล พระสงฆ์ 1,250 รูป เจริญภาวนาแผ่เมตตา มีการแจกข้าวทิพย์มธุปายาสแก่ผู้ร่วมงาน และช่วงค่ำวันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ ตรงกับวันมาฆบูชาและเป็นวันสุดท้ายของการจัดงานก็จะเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้า พิธีเวียนเทียนรอบบริเวณวัด
เชื่อกันว่าหากมีการจัดพิธีกรรมที่ตรง กับวันที่เกี่ยวข้องทางศาสนา ก็จะยิ่งทำให้พิธีกรรมนั้นมีความเข้มขลังยิ่งขึ้น ดังนั้น นอกเหนือจากที่วัดแจ้งศิริสัมพันธ์จะได้จัดงานวันมาฆบูชาเพื่อรำลึกถึงพระ พุทธเจ้าที่ทรงเผยแผ่พุทธศาสนาแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่จัดว่าจะต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ นั่นคือการจัดพิธีมหาพุทธาภิเษกวัตถุมงคล "พระพุทธชินราช รุ่นพ่อ" ตลอดทั้ง 3 วันของการจัดงานครั้งนี้
โดย นิมนต์พระเกจิชื่อดัง "หลวงปู่แย้ม" เจ้าแห่งตำนานกุมารทองและตะกรุดอันลือลั่นแห่งวัดอรัญญิการาม (วัดสามง่าม) อ.ดอนตูม จ.นครปฐม มาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ในพิธีมหาพุทธาภิเษก รวมทั้งพระเกจิอาจารย์ชื่อดังทั่วฟ้าเมืองไทย ซึ่งความเป็นมาของพระพุทธชินราชรุ่นนี้ จัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2550 โดยได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้าง เป็นพระเครื่องแบบรูปหล่อลอยองค์พระพุทธชินราช ประกอบพิธีเททอง หล่อ ณ บริเวณหน้าพระวิหารพระพุทธชินราช จ.พิษณุโลก ซึ่งจัดสร้างโดย ดร.ศิวาวิทย์ สำเร็จผล และประธานฝ่ายฆราวาสในพิธีคือ พล.อ. นิพนธ์ สีตบุตร
ส่วน ประธานฝ่ายสงฆ์คือ พระธรรมกิตติเวที เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวราราม พร้อมทั้งพระเกจิ 108 รูป ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก และพระเกจิแต่ละท่านยังได้มอบสุดยอดเนื้อมวลสารศักดิ์สิทธิ์ผสมในการหล่อ องค์พระอีกด้วย ที่สำคัญ 2 เกจิชื่อดัง หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา และ หลวงปู่ทิม แห่งวัดพระขาว จ.พระนครศรีอยุธยา ก็ร่วมในพิธีครั้งนั้น ส่วนวัตถุประสงค์การจัดสร้างเพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อพระราชทานแก่ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งนำเงินสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่
ในช่วง นั้นกระแสจตุคามฯ ฟีเวอร์ กำลังมาแรง จึงทำให้พระพุทธชินราช รุ่นพ่อ ต้องอันตรธานหายไปจากทำเนียบพระเครื่องที่น่าสนใจ ส่งผลให้จำนวนเงินที่ผู้มีจิตศรัทธาบูชาพระมีไม่เพียงพ่อต่อการนำไปส่งเสริม การปฏิบัติภารกิจตามวัตถุประสงค์ได้ ดังนั้นแล้วจึงยังเหลือองค์พระอีกส่วนหนึ่งเพื่อรอให้ผู้มีจิตศรัทธาได้บูชา ให้ครบตามจำนวนเงินที่ต้องการ
จำนวนพระส่วนที่เหลืออยู่นั้น ปัจจุบันอยู่ที่ "ศูนย์รวมรักษ์พระบรมสารีริกธาตุ นานาชาติ เทพทองพระราชทาน" ตั้งอยู่ ณ อาคารนนท์ทาวเวอร์ ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสร่วมทำบุญบูชา ถือเป็นการสานต่อภารกิจรวบรวมเงินเพื่อนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ของการจัด สร้าง ใครที่ได้บูชาไปก็เท่ากับได้ร่วมทูลเกล้าฯ ถวายในหลวง ได้ความภูมิใจที่ได้ครอบครองวัตถุมงคลอันล้ำค่าที่ต้องจารึกไว้ในประวัติ ศาสตร์ว่าเป็นพระพุทธชินราชอีกรุ่นหนึ่งที่มีอนาคตไกล
เพราะถือเป็นพระสุดยอดที่มีองค์ประกอบความเข้มขลังครบครัน ทั้งเนื้อมวลสาร, พิธีกรรม และฤกษ์วันปลุกเสก นับว่าหาได้ไม่บ่อยนักที่พระรุ่นใดจะทำได้เช่นนี้ โดยเมื่อเร็วๆ นี้ ดร.ศิวาวิทย์ ประธานจัดสร้างได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระพุทธชินราช รุ่นพ่อจำนวนหนึ่งแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และจะรอการรวบรวมเงินที่ได้จากการบูชาให้ครบตามจำนวนนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต่อไป รวมทั้งนำเงินส่วนหนึ่งไปช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ดังนั้นแล้วหากใครได้เข้าร่วมในพิธีมหาพุทธาภิเษกครั้งนี้ และได้ร่วมบุญบูชาพระในงาน ก็นับว่าเป็นการทำบุญในวันสำคัญทางศาสนา ซึ่งจะส่งผลดีต่อความเป็นมงคลของชีวิตยิ่งนัก ซึ่งในงานยังมีพระเครื่องให้เช่าบูชาอีกหลายรุ่น เพื่อนำเงินไปบูรณปฏิสังขรณ์วัด เช่น พระเก้าหน้า, พระพิฆเนศวร์, พระสีวลี ฯลฯ
แหล่งข่าวจากหนังสือ พิมพ์ข่าวสดข่าวสด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น