วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ลิงค์หนังสือพิมพ์

@ ไทยรัฐ @ คม ชัด ลึก @ กรุงเทพธุรกิจ
@ เดลิ นิวส์ @ ประชาชาติธุรกิจ @ เนชั่นแชนแนล
@ ผู้ จัดการ @ ฐานเศรษฐกิจ @ สยามธุรกิจ
@ โพสต์ทูเดย @ เส้นทางเศรษฐกิจ @ กระแส หุ้น
@ ไทยโพสต์ @ Bangkok Post @ บ้านเมือง
@ มติชน @ แนวหน้า @ เทเลคอม เจอร์นัล
@ สยาม รัฐ
@ ข่าว สด



@ ผู้ จัดการรายเดือน
@ มติชนสุดสัปดาห


รวมลิงค์เหรียญพระรุ่นต่าง ๆ

เหรียญ พระอาจารย์สุริยันต์ โฆสปัญโญ วัดป่า วังน้ำเย็น รุ่น ๑

เหรียญ พระอาจารย์สุริยันต์ โฆสปัญโญ วัดป่า วังน้ำเย็น รุ่น ๑

"พระอาจารย์สุริยันต์ โฆสปัญโญ" เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงรูปหนึ่ง ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากสาธุชนในพื้นที่อำเภอเมืองและใกล้เคียงของ จังหวัดมหาสารคาม สืบทอดปฏิปทาและวิทยาคมจาก หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ วัดธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม พระเกจิชื่อดังของภาคอีสาน

เหรียญ พระอาจารย์สุริยันต์ ปัจจุบัน พระ อาจารย์สุริยันต์ สิริอายุ 30 พรรษา 10 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด บูรพาเทพนิมิต อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ และเจ้าอาวาสวัด ป่าวังน้ำเย็น ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม

แม้จะมีอายุและพรรษาน้อยแต่ท่านเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มุ่งวิปัสสนากัมมัฏฐาน นอกจากเป็นพระเกจิแล้วท่านยังเป็นพระนักพัฒนาอีกด้วย ในเวลาเพียง 4 ปีวัดป่าวังน้ำเย็นแห่งนี้ มีถาวรวัตถุที่ใช้ปฏิบัติศาสนกิจมากมาย

สำหรับวัตถุมงคลของพระอาจารย์สุริยันต์ คณะศิษยานุศิษย์ รวมทั้งญาติโยมผู้เคารพศรัทธา ได้ร่วมใจกันจัดสร้างเพื่อบูชาครูและรำลึกถึงคุณงามความดีของท่าน คือ เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกของท่าน จัดสร้างขึ้นเมื่อต้นปี 2552 จำนวน 10,000 เหรียญ เป็นเนื้อทองแดงชนิดเดียว ลักษณะเป็นเหรียญมีห่วง รูปทรงคล้ายพัดยศยกขอบ

ด้านหน้าเหรียญมีรูปเหมือนพระอาจารย์ สุริยันต์ครึ่งองค์ ที่คอคล้องลูกประคำ บริเวณหน้าอกด้านซ้ายมีเลข ๙ และจากบริเวณด้านขวาของเหรียญโค้งลงไปด้านล่างวนขึ้นไปทางด้านขวาเขียนว่า "พระ อาจารย์สุริยันต์ โฆษปญฺโญ วัดป่าวังน้ำเย็น อ.เมือง จ.มหาสารคาม" และใต้ตัวอักษรเขียนว่า รุ่น ๑

ด้านหลังเหรียญเป็นยันต์มหาปรารถนา อ่านว่า "โน เย นะ เย โน ชิ นะ ยา ชิ มา นิ ทิ ปะ สิ วะ ภา ทิ ปะ สิ" เป็นยันต์ที่มีพุทธคุณครอบคลุมทุกด้าน

สำหรับพิธีพุทธาภิเษก พระอาจารย์สุริยันต์ได้อธิษฐานจิต นานถึง 1 พรรษา จากนั้นได้นำเหรียญทั้งหมดไปให้หลวงปู่เฉย วัดสระเกษ อ.แวงใหญ่ จ.ขอนแก่น พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของภาคอีสานอธิษฐานจิตซ้ำอีกครั้ง และยังได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกใหญ่อีกที่สนามโรงเรียนสารคามพิทยาคม ซึ่งมีพระเกจิชื่อดังของภาคอีสานร่วมพิธีมากมาย อาทิ หลวงปู่คำบุ จ.อุบลราชธานี, หลวงปู่หนูอินทร์ กิตฺติสาโร จ.กาฬ สินธุ์, หลวงปู่เหรียญชัย มหาปัญโญ จ.อุดรธานี, หลวงปู่เฉย ญาณธโร จ.ขอนแก่น เป็นต้น

ภายหลังเสร็จพิธีได้นำออกให้ญาติโยมเช่าบูชาเหรียญละ 99 บาท รายได้สมทบทุนก่อสร้างสาธารณูปโภคสาธารณูปการภายในวัดป่าวังน้ำเย็น เหรียญ พระอาจารย์สุริยันต์ นับเป็นเหรียญดีอีกเหรียญหนึ่งของจังหวัด มหาสารคามที่มีอนาคตไกล เนื่องจากได้รับการพุทธาภิเษกถึง 3 ครั้ง ขณะนี้ราคาเช่าหายังอยู่หลักร้อยต้นเท่านั้น

แม้เหรียญนี้เพิ่งจัดสร้างออกมาเพียงไม่นาน แต่ปรากฏว่าบรรดาเซียนพระและนักนิยมสะสมพระเครื่องต่างเริ่มเสาะหาแล้ว
แหล่งข่าวจากหนังสือ พิมพ์ข่าวสดข่าวสด

คอลัมม์นี้ทางเว็บไม่มี วัตถุมงคลให้เช่าบูชา

เหรียญ หลวงพ่อเส็ง ธัมมธโร วัดหนองเรือโกลน ปี2547

เหรียญ หลวงพ่อเส็ง ธัมมธโร วัดหนองเรือโกลน ปี2547

"พระครูอุปการพิสิฏฐ์" หรือที่ชาวบ้านรู้จักกันในนาม "หลวง พ่อเส็ง ธัมมธโร" พระเกจิชื่อดังแห่งวัดหนองเรือโกลน ต. หนองกลางดง อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี หลวงพ่อเส็งเป็น ศิษย์หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ท่านเป็นชาวอุทัยธานีโดยกำเนิด เกิดเมื่อปี พ.ศ.2434 บวชเป็นสามเณรตั้งแต่อายุย่าง 19 ปี

เหรียญ หลวงพ่อเส็ง ธัมมธโรจนเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดมะเดื่อ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2454 โดยมีพระใบฎีกาแจ้ง เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเส็งได้มรณภาพลงอย่างสงบ ณ วัด หนองเรือโกลน เมื่อวันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม 2511 สิริอายุ 77 ปี พรรษา 57

จาก การที่หลวงพ่อเส็งเป็นพระเกจิอาจารย์ชั้นแนวหน้ารูป หนึ่งของจังหวัดอุทัยธานี พระอธิการกิตติธัช ยุตติโก เจ้าอาวาสวัด หนองเรือโกลนรูปปัจจุบัน ได้จัดสร้างวัตถุมงคลหลวงพ่อเส็ง เพื่อสม ทบทุนบูรณะหอสวดมนต์ที่ชำรุดทรุดโทรม วัตถุมงคลดังกล่าวเป็นเหรียญรูปไข่เนื้อทองแดง สร้างจำนวน 20,000 เหรียญ

ด้าน หน้าเหรียญเป็นเหรียญลักษณะไม่มีขอบ มีรูปหลวงพ่อเส็งนั่ง ขัดสมาธิเต็มองค์อยู่กลางเหรียญ ด้านล่างใต้รูปเหมือนมีตัวหนังสือเขียนคำว่า "(หลวงปู่เส็ง) พระครูอุปการพิสิฎฐ์" ตอกโค้ด "นะ" ตรงบริเวณสังฆาฏิรูปเหมือนหลวงพ่อเส็ง

ด้าน หลังเหรียญมีขอบรอบ กำกับด้วยยันต์ไตรสรณคม มีอักขระขอมเขียนว่า "นะ โม พุท ธา ยะ เมตตา พา มะ นะ มะพะทะ" ตอกยันต์มีอุณาโลม กำกับด้วย ยะ และข้างขอบเหรียญด้านล่างยังมีตัวหนังสือ "วัดหนองเรือโกลน อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี"

เหรียญรุ่นนี้ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกเมื่อวัน พฤหัสบดีที่ 8 เมษายน 2547 ณ อุโบสถ วัดหนองกระดี่ใน ต.หนองยายดา อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี มีพระเกจิอาจารย์นั่งปรกปลุกเสก ประกอบด้วย พระราชอุทัยกวี เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี ประธานจุดเทียนชัย, พระครูปทุมชัยกิจ (หลวงพ่อนะ) วัดหนองบัว จ.ชัยนาท ประ ธานจุดเทียนชัย, พระครูอุปกิจสารคุณ (หลวงพ่อเสน่ห์) วัดพันสี จ.อุทัยธานี, พระครูมนูญธรรมรัต (หลวงพ่อฟู) วัดบางสมัคร จ.ฉะเชิง เทรา

พระครูอุทิศธรรมรส (หลวงพ่อโฉม) วัดเขาปฐวี จ.อุทัยธานี, พระครูอุทิศนวการ (หลวงพ่อสำเริง) วัดทุ่งนาไทย จ.อุทัยธานี, พระครูพิทักษ์ชลธรรม (หลวงพ่อใบ) วัดบ้านเก่า จ.ชลบุรี, พระอุทัยธรรมานุวัตร (หลวงพ่อมนัส) วัดหนองขุนชาติ จ.อุทัยธานี และพระครูอุปการพัฒนกิจ (หลวงพ่อสมัย) วัดหนองหญ้านาง จ.อุทัยธานี

ปัจจุบัน เหรียญหลวงพ่อเส็ง เนื้อทองแดงรุ่นนี้ พระอธิการกิตติธัช ยุตติโก เจ้าอาวาสวัดหนองเรือโกลน ได้นำมามอบให้ผู้ที่ศรัทธาได้เช่าบูชา นำรายได้บูรณะซ่อมแซมหอสวดมนต์

ขณะนี้เหรียญรุ่นดังกล่าวมีเหลือจำนวนน้อยมาก กลายเป็นที่ต้องการของบรรดานักนิยมพระเครื่องและนักสะสมเหรียญพระบูชารุ่น ใหม่ ผู้ที่สนใจไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง หาเช่าบูชาได้ที่วัดหนองเรือโกลนเท่านั้น
แหล่งข่าวจากหนังสือ พิมพ์ข่าวสดข่าวสด

คอลัมม์นี้ทางเว็บไม่มี วัตถุมงคลให้เช่าบูชา

เหรียญ พระครูวชิรกิจโกศล (หลวงพ่อถนอม) วัดปากลัด รุ่นแรก ปี2516

เหรียญ พระครูวชิรกิจโกศล (หลวงพ่อถนอม) วัดปากลัด รุ่นแรก ปี2516

"วัดปากลัด" ต.บางตะบูน อ.บ้าน แหลม จ.เพชรบุรี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางตะบูนปากคลองลัด เป็นวัดเก่าแก่ สร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นจนถึงปัจจุบันกว่า 200 ปี กรมการศาสนา ได้รับรองสภาพวัด เมื่อปี พ.ศ.2393 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ.2398 ซึ่งเจ้าคณะปกครองฝ่ายสงฆ์ได้ปกครองดูแลตลอดมาจนถึงปัจจุบัน มีเจ้าอาวาสรวม 6 รูป

อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 5 ได้แก่ พระครูวชิรกิจโกศล (หลวงพ่อถนอม ทายโก) เป็นเจ้าอาวาสที่เป็นนักพัฒนาวัดและประชาชนให้ความเลื่อมใสศรัทธามาโดยตลอด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2473 เป็นต้นมา พระครูวชิรกิจโกศล ได้ พัฒนาวัดปากลัดให้เจริญรุ่งเรืองเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาพุทธศาสนิกชนทั้งใน จังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง

พระครูวชิรกิจโกศล ได้ให้ความเคารพนับถือศรัทธาบารมีขององค์พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 5 พี่น้องมาก ประกอบด้วย หลวงพ่อบ้านแหลม วัดเพชรสมุทร, หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา, หลวงพ่อโสธร วัดโสธร, หลวงพ่อไร่ขิง วัดไร่ขิง และหลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน


เหรียญ พระครูวชิรกิจโกศลหลัง หลวงพ่อ 5 พี่น้อง
พระครูวชิรกิจโกศล ได้กราบนมัสการอัญเชิญรูปหล่อจำลองหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์จาก 5 วัด มาประดิษฐาน ณ อุโบสถวัดปากลัด ครบทั้ง 5 องค์ ในปี พ.ศ.2500 และได้ตั้งชื่อหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมดเป็นหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ 5 พี่น้องครั้งแรกในประเทศไทย

พระครูวชิรกิจโกศล ได้ปรารภไว้กับพระครูปฏิภาณวัชรธรรม (ชัช จิตตสิวโร) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ก่อนจะมรณภาพว่า ให้สร้างวิหารไว้ริมน้ำบางตะบูน เพื่อประดิษฐานหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ 5 พี่น้อง เพื่อให้ชาวบ้านที่สัญจรทางน้ำและทางบกได้กราบไหว้บูชาเสริมสิริมงคล

ในการนี้ พระครูปฏิภาณวัชรธรรม เจ้าอาวาสวัดปากลัดรูป ปัจจุบัน ได้จัดสร้างเหรียญพระครูวชิรกิจโกศลรุ่นแรก ปี 2516 จัดสร้างมาจำนวนไม่มาก เป็นเหรียญรูปไข่ มีหูห่วง

ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนพระครูวชิรกิจโกศลครึ่งองค์ ด้านบนเขียนชื่อ "พระครูวชิรกิจโกศล (ถนอม) อายุ ๖๗ ปี" บริเวณขอบนอกด้านบนเป็นยันต์เมตตา ค้า ขาย แคล้วคลาดปลอดภัย ขอบนอกด้านล่าง เขียนชื่อ "วัดปากลัด บางตะบูน เพชรบุรี พ.ศ. ๒๕๑๖"

ด้านหลังเหรียญ เป็นรูปหล่อหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ 5 พี่น้อง เขียนข้อความใต้พระพุทธรูปทั้ง 5 ว่า "วัดเขา โสธร บางพลี บ้านแหลม ไร่ขิง" บริเวณขอบเหรียญเป็นยันต์เมตตา แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี

ในพิธีปลุกเสกเหรียญรุ่นนี้ มีพระเกจิคณาจารย์สายใต้และสายภาคกลาง ร่วมพิธีพุทธาภิเษก ด้วยพิธีที่เข้มขลัง พุทธคุณเปี่ยมล้น รายได้ทั้งหมดจากการเช่าบูชาได้นำไปสร้างวิหาร เป็นที่ประดิษฐานองค์พระประธานหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ 5 พี่น้อง และจัดสร้างรูปหล่อพระครูวชิรกิจโกศล (ถนอม ทายโก) ประดิษฐาน ภายในวัดปากลัดต่อไป
แหล่งข่าวจากหนังสือ พิมพ์ข่าวสดข่าวสด

คอลัมม์นี้ทางเว็บไม่มี วัตถุมงคลให้เช่าบูชา

เหรียญ หลวงปู่บุญมา สิริมาโย วัดบ้านหนองเรือ รุ่นแรก ปี2511

เหรียญ หลวงปู่บุญมา สิริมาโย วัดบ้านหนองเรือ รุ่นแรก ปี2511

"หลวงปู่บุญมา สิริมาโย" อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้าน หนองเรือ ต.หนองเรือ อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม พระเกจิอาจารย์ชื่อดังสืบสายธรรมจากหลวงปู่ซุน วัดบ้านเสือโก้ก อ.วาปี ปทุม หลวงปู่บุญมา เกิดปี พ.ศ.2442 ณ บ้านหนองบัวกุดอ้อ อ.วาปีปทุม จ. มหาสารคาม เมื่ออายุครบบวชได้เข้า พิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดบ้านหนองบัวกุดอ้อ มีหลวงปู่ซุน วัดบ้านเสือโก้ก เป็นพระอุปัชฌาย์

เหรียญ หลวงปู่บุญมา สิริมาโย ท่านได้ศึกษา วิทยาคมจากหลวงปู่ซุน ไม่ว่าจะเป็นวิชาเมตตามหานิยม แคล้ว คลาด คงกระพันชาตรี กันบ้านกันเมือง รวมทั้งยังได้ศึกษาด้านการอ่านการเขียนอักษรธรรม และภาษาขอม หลวง ปู่บุญมา มรณภาพในปี พ.ศ.2523 สิริอายุ 81 พรรษา 59

กล่าว สำหรับวัตถุมงคลของหลวงปู่บุญมา ในช่วงที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ท่านได้จัดสร้างเป็นจำนวนน้อยมาก แต่ที่เป็นสุดยอดปรารถนาของนักสะสมนิยมพระเครื่อง คือเหรียญรูปไข่รูปเหมือนหลวงปู่บุญ มา รุ่นแรก สร้างปี 2511 จัดสร้างขึ้นเพื่อบูชาครู เนื่องในวาระที่หลวงปู่บุญมา อายุครบ 69 ปี

วัดบ้านหนองเรือได้มอบให้คณะศิษย์และผู้ที่ได้บริจาค จตุปัจจัยสมทบทุนสร้าง สาธารณูปโภคสาธารณูปการในวัด เป็นเหรียญทองแดงรมดำ จำนวนการสร้างไม่เกิน 3,000 เหรียญ

ด้านหน้าเป็นเหรียญยกขอบมีหูห่วง จากด้านขวาของเหรียญวนขึ้นไปด้านบนโค้งลงไปทางขอบเหรียญด้านซ้ายเขียนว่า "หลวง ปู่บุญมา ศิริมาโย" ตรงกลางเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงปู่บุญ มานั่งเต็มองค์ มือขวาวางที่หัวเข่า มือซ้ายวางอยู่ที่หน้าตัก ด้านใต้รูปเหมือนเขียนว่า อายุ ๙๖ ทั้งนี้ แท้ที่จริงช่างแกะบล็อกผิด ที่ถูกต้องคือ 69 ด้านหลังเหรียญมีอักขระรอบเหรียญ ตรงกลางเหรียญจะเป็นยันต์น้ำเต้า อ่านว่า "อิ สวา สุ นะ มะ พะ ทะ นะ มะ พะ ทะ รัง" พร้อมกับอุณาโลม และอิติปิโส ใต้ยันต์เขียนคำว่า "วัดหนอง เรือ อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม"

สำหรับ เหรียญรุ่นนี้หลวงปู่บุญมาได้ประ กอบพิธีพุทธาภิเษกเดี่ยวภายในอุโบสถตลอดพรรษา ทำให้มีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้าน การันตีได้ในความเข้มขลัง ร่ำลือกัน ว่า เคยมีผู้ที่ห้อยเหรียญหลวง ปู่บุญมารุ่นนี้ถูกลอบยิงด้วยอาวุธปืนในระยะเผาขน แต่ได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยเท่านั้น สามารถผ่อนหนักเป็นเบา และมีบางรายประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ รถพังยับทั้งคัน แต่ปลอดภัยอย่างน่าอัศจรรย์

จัดเป็นเหรียญยอดนิยมในพื้นที่อีก เหรียญหนึ่งของอ.นาเชือก จ.มหาสารคาม ผู้ที่เก็บสะสมบูชาพระเครื่อง วัตถุมงคล ไม่ควรพลาดในการหามาไว้สักการบูชา เป็นเหรียญที่ราคาเช่าหายังไม่สูงเท่าใดนัก เหรียญสวยจะอยู่หลักพันต้น สวยน้อยราคาอยู่หลักร้อยปลาย
แหล่งข่าวจากหนังสือ พิมพ์ข่าวสดข่าวสด

คอลัมม์นี้ทางเว็บไม่มี วัตถุมงคลให้เช่าบูชา

เหรียญ พระครูวิชัยกันทรารักษ์ วัดสุวรรณาวาส

เหรียญ พระครูวิชัยกันทรารักษ์ วัดสุวรรณาวาส

"พระครูวิชัยกันทรารักษ์" อดีตเจ้าอาวาสวัดสุว รรณาวาส และอดีตเจ้าคณะอำเภอกันทรวิชัย จ.มหาสารคาม พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองมหาสารคาม สืบสายธรรมจากพระครูวิบูลย์ศีลพรต (พรหมา) ซึ่งเป็นบูรพาจารย์รุ่นเก่ารูปหนึ่งของเมืองมหาสารคาม พระครูวิชัยกันทรารักษ์เกิดเมื่อปี พ.ศ.2435 ณ บ้านส้มป่อย ต.คันธารราษฎร์ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม

เหรียญพระครูวิชัยกันทรารักษ์เมื่ออายุครบ 20 ปีได้เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดสุวรรณมงคล บ้านคันธารราษฎร์ จ.มหาสารคาม โดยมีพระครูวิบูลย์ศีลพรต (พรหมา) เป็นพระอุปัชฌาย์

พระครูวิชัยกันทรารักษ์มรณภาพอย่างสงบในปี พ.ศ.2510 ด้วยโรคชรา สิริอายุ 75 พรรษา 55

เมื่อครั้งที่ท่านมีชีวิตท่านได้จัดสร้างวัตถุมงคลน้อยชิ้น ส่วนใหญ่จะเป็นตะกรุดดอกเล็ก จำนวนการสร้างไม่แน่นอน ท่านทำแจกญาติโยมเรื่อยมา ภายหลังจากที่ท่านได้มรณภาพผ่านไป 1 ปี เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณงามความดีของพระครูวิชัยกันทรารักษ์ วัดสุวรรณาวาสได้ร่วมกับญาติโยมและคณะศิษย์ มีความเห็นร่วมกันจัดสร้างวัตถุมงคลเป็นเหรียญรูปเหมือนหลวงปู่ขึ้น

ลักษณะเป็นเหรียญรูปใบเสมา มีหูห่วง จำนวนการสร้างประมาณ 3,000 เหรียญ เป็นเนื้อทองแดงเพียงอย่างเดียว เหรียญด้านหน้าเป็นลายกนกสวยงาม ตรงกลางเหรียญเป็นรูปเหมือนพระครูวิชัยกันทรารักษ์ครึ่ง องค์ ด้านซ้ายของเหรียญโค้งลงไปทางด้านล่างวนขึ้นไปด้านขวาเขียนคำว่า "พระ ครูวิชัยกันทรารักษ์"

ด้านหลังเหรียญเป็นยันต์พระเจ้าห้า พระองค์ นะโมพุทธายะ มียันต์อุณาโลมปิด ตรงกลางยันต์มียันต์น้ำเต้าองค์พระ เป็นคาถาเด่นทางด้านเมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี และแคล้วคลาด ที่ใต้อักขระเขียนว่า "เจ้าคณะอำเภอกันทราวิชัย" (ช่างแกะบล็อกผิด ที่ถูกเป็นกันทรวิชัย) "๗ เม.ย.๒๕๑๑" เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง

เหรียญ รุ่นนี้ได้ประกอบพิธีพุทธา ภิเษก โดยมีพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังหลายรูปร่วมพิธีอธิษฐานจิต อาทิ หลวงปู่สิงห์ คัมภีโร บ้านศรีสุข, หลวงปู่บุญจันทร์ สุญาโณ วัดหนองผักแว่น เป็นต้น
ถึงแม้จะเป็นเหรียญตาย สร้างภายหลังจากหลวงปู่มรณภาพไปแล้ว แต่ด้วยความที่เจตนาการจัดสร้างที่บริสุทธิ์ พระเกจิที่ร่วมพิธีพุทธาภิเษกล้วนมีอาคมเข้มขลัง ทำให้เหรียญนี้มีพุทธคุณเด่นรอบด้าน เหรียญพระครูวิชัยกันทรารักษ์ จัดเป็นเหรียญเก่าที่ค่อนข้างหายากอีกเหรียญหนึ่งของเมืองมหาสารคาม ส่วนใหญ่จะอยู่ในความครอบครองของญาติโยมผู้สูงอายุในพื้นที่

ปัจจุบันราคาเช่าหาในพื้นที่ยังไม่สูง เป็นเหรียญดีราคาถูก หากเหรียญสวยคมอยู่ที่หลักร้อยปลาย สวยน้อยราคาก็อยู่หลักร้อยต้น จึงเป็นอีกเหรียญหนึ่งที่นักสะสมนิยมพระเครื่องในพื้นที่ควรหาบูชาไว้ ในครอบครอง
แหล่งข่าวจากหนังสือ พิมพ์ข่าวสดข่าวสด

คอลัมม์นี้ทางเว็บไม่มี วัตถุมงคลให้เช่าบูชา

เหรียญ หลวงปู่กินรี จันทิโย วัดกัณตะศิลาวาส รุ่น ๑

เหรียญ หลวงปู่กินรี จันทิโย วัดกัณตะศิลาวาส รุ่น ๑

"หลวงปู่กินรี จันทิโย" วัดกัณตะศิลาวาส ต.ฝั่งแดง อ.ธาตุพนม จ.นครพนม พระวิปัสสนาจารย์ชื่อดัง ท่านเป็นลูกศิษย์ออกติดตามธุดงควัตรไปกับหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์สายพระป่า หลวงปู่กินรี เป็นพระป่าเพียงรูปเดียวที่ไม่ได้เข้าญัตติเป็นคณะธรรมยุตในสมัยนั้น ท่านยังเป็นพระอาจารย์ของหลวงปู่ชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี และหลวงปู่อวน ปคุโณ วัดจันทิยาวาส ต.นามะเขือ อ.ปลาปาก จ.นครพนม

เหรียญ หลวงปู่กินรีมีนามเดิมว่า กลม จันศรีเมือง เกิดเมื่อวันพุธที่ 8 เมษายน 2439 ตรงกับสมัย ร.ศ.115 บรรพชาเป็นสามเณรในวัย 10 ขวบ อุปสมบทแล้วลาสิกขาในเวลาต่อมา กระทั่งในวัย 25 ปีเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์อีกครั้ง

พระอาจารย์วงศ์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้เปลี่ยนชื่อเดิมจากกลม เป็น "กินรี" ได้รับฉายาว่า จันทิโย เดิมท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองฮี และสำนักสงฆ์เมธาวิเวก ต.หนองฮี อ.ปลาปาก จ.นครพนม ก่อนย้ายไปจำพรรษาที่วัดกัณตะศิลาวาส ภายหลังออกธุดงค์นานกว่า 12 ปี

หลวงปู่กินรี มีโรคประจำตัวไอและปอดชื้น แต่ท่านไม่ยอมไปหาหมอรักษา จนอาการอาพาธทรุดหนักลง กระทั่งวันที่ 26 พฤศจิกายน 2523 ท่านได้ละสังขารอย่างสงบ ท่ามกลางความเศร้าสลดแก่ญาติโยม สิริอายุ 84 ปี 58 พรรษา

ทั้งนี้ ก่อนที่หลวงปู่กินรีจะมรณภาพได้ 2 ปี คณะศิษย์ได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้น เพื่อฉลองอายุวัฒนะมงคลวันคล้ายวันเกิดครบ 82 ปี เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2519 จัดสร้างโดย พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ผบ.ทบ.ในสมัยนั้น ได้สร้างเหรียญ หลวงปู่กินรี รุ่น 1 พ.ศ.2519 ไว้แจกจ่ายให้ทหารหาญ ส่วนหนึ่งถวายหลวงปู่ไว้แจกจ่ายแก่ญาติโยมผู้มาทำบุญ

เป็นเหรียญเนื้อเงิน เนื้อนวโลหะ และเนื้อทองแดงผิวไฟ แต่ไม่ทราบจำนวนที่จัดสร้างแน่ชัด ลักษณะเหรียญเป็นรูปทรงคล้ายใบโพธิ์ มีหู ด้านหน้าเหรียญ ขอบเหรียญเป็นลายกนกที่อ่อนช้อยงดงาม ถัดจากเส้นสันขอบเหรียญ มีรูปเหมือนหลวงปู่กินรี นั่งขัดสมาธิเต็มองค์ ที่จีวรตอกโค๊ต "ศล" ด้านล่างสลัก "จนฺทิโย" ฉายาของหลวงปู่

ด้านหลังเหรียญ ครึ่งวงรีจากซ้ายไปขวาสลักคำว่า "หลวงพ่อกินรี จนฺทิโย วัดกัณตะศิลาวาส รุ่น ๑" ถัดจากเส้นขอบนูนบรรทัดที่ 1-4 มียันต์อักขระ บรรทัดที่ 5-6 ระบุอายุ ๘๒ ปี ๘ เมษายน ๑๙ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดครบรอบในวัน เดือน ปี พ.ศ.นั้น ด้านล่างเขียนคำว่า "จ.นครพนม"

เป็น 1 ในเหรียญ 4 รุ่นที่ พล.อ.เกรียงศักดิ์ จัดสร้าง มีพุทธคุณเป็นที่ทราบกันดีในหมู่ทหารว่าโดดเด่นด้านแคล้วคลาดปลอดภัย ราคาเช่าหาบูชาเหรียญรุ่นนี้ ในปัจจุบัน เนื้อเงิน 5,000-6,000 บาท เนื้อนวโลหะ 3,000 บาท เนื้อทองแดงผิวไฟหลัก 1,000 ขึ้นแล้วแต่สภาพ ถือเป็นอีกเหรียญหนึ่งที่ออกแบบได้งดงาม น่าเก็บไว้สะสม
แหล่งข่าวจากหนังสือ พิมพ์ข่าวสดข่าวสด

คอลัมม์นี้ทางเว็บไม่มี วัตถุมงคลให้เช่าบูชา

เหรียญ หลวงพ่อแฉ่ง วัดปากอ่าวบางตะบูน รุ่นสร้างวิหาร

เหรียญ หลวงพ่อแฉ่ง วัดปากอ่าวบางตะบูน รุ่นสร้างวิหาร

"วัดปากอ่าว" เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งในเขต อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำบางตะบูน จึงเรียกว่าวัด ปากอ่าว ส่วนตำบลแห่งนี้ที่ชื่อว่าบางตะบูน ด้วยอยู่บริเวณป่าชายเลน ใกล้บริเวณปากอ่าว มีต้นตะบูนจำนวนมาก วัดแห่งนี้เดิมชาวบ้านเรียกว่า "วัดนอก" คู่กับวัดปากลัด (ฝั่งตำบลบางตะบูน) ซึ่งเรียกว่า "วัดใน" มีหลักฐานการรับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2452 ซึ่งอยู่ในปลายรัชสมัยที่ 5

เหรียญ หลวงพ่อแฉ่ง เจ้าอาวาสรูปแรก ชื่อ พระครูญาณสาคร (แฉ่ง สำเภาเงิน) เป็นพระที่มีความรู้ในการอ่าน เขียนภาษาไทยและภาษาขอมได้ดี

ชีวประวัติของหลวงพ่อแฉ่ง ได้อุปสมบทที่วัดปากลัด เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2442 มีพระอธิการคล้ำ วัดปากคลอง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการทรัพย์ วัดเขาตะเครา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการวัด ปากลัด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ศีลปัญโญ"

หลวงพ่อแฉ่งได้ชักชวนชาวบ้านบางตะบูนให้ร่วมกันสร้างวัด ขึ้นใหม่ ที่ริมฝั่งชายทะเลด้านทิศตะวันออกของอ่าวบางตะบูน ซึ่งเป็นบริเวณป่าชายเลนที่มีน้ำท่วมถึง จนกลายเป็นวัดใหญ่ถาวร ใช้เวลาในการปรับปรุงถมที่ดินและก่อสร้างสิ่งต่างๆ เช่น อุโบสถ กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ เป็นเวลานาน 5 ปี จึงแล้วเสร็จ ขนานนามว่า "วัดปาก อ่าวบางตะบูน" และเป็นสถานที่ท่านจำพรรษา ตราบจนวาระสุดท้าย เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2506 สิริอายุได้ 86 พรรษา 64

ด้วยคุณงามความดีของหลวงพ่อแฉ่ง ทำให้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้านในเมืองเพชรบุรี ดังนั้น พระครูสิริวัชรสาคร (บุญส่ง อตตทีโป) เจ้าอาวาสวัดปากอ่าวรูปปัจจุบัน ได้จัดสร้าง "เหรียญหลวงพ่อแฉ่ง รุ่นสร้างวิหาร" เพื่อให้ผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาหลวงพ่อแฉ่ง ได้สักการบูชาติดตัวเป็นสิริมงคล

เหรียญหลวงพ่อแฉ่ง รุ่นสร้างวิหาร เป็นเหรียญรูปไข่ ไม่มีหูห่วง จำนวนการจัดสร้างไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน แต่มีจำนวนไม่มาก จัดสร้างเป็นเนื้อเงิน เนื้อนวโลหะ เนื้อทองแดงรมดำ และเนื้อทองแดง

ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปหลวงพ่อแฉ่งครึ่งองค์ ด้านบนเขียนเป็นชื่อ "พระครูญาณสาคร(แฉ่ง สำเภาเงิน)" ด้านล่างใต้รูปเหมือน เขียนคำว่า "วัดปากอ่าวบางตะบูน" ด้านหลังเหรียญ เป็นยันต์เมตตา แคล้วคลาด ใต้ยันต์เขียนคำว่า "รุ่นสร้างวิหาร พ.ศ.๒๕๔๘"

เหรียญรุ่นดังกล่าว ประกอบพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ นิมนต์พระเกจิอาจารย์ทั้งสายใต้และสายเหนือ เข้าร่วมพิธีจำนวนมาก โดยเฉพาะพระเกจิอาจารย์ในจังหวัดเพชรบุรี อาทิ หลวงพ่อตัด วัดชายนา, หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง เป็นต้น

หลังจากเสร็จพิธี คณะศิษย์ได้มาจับจองเช่าบูชาไปเกินกว่าครึ่ง ทำให้เหรียญรุ่นนี้เหลืออยู่ไม่มากนัก รายได้ทั้งหมดทางวัดนำไปจัดสร้างวิหารหลวงพ่อแฉ่ง

ครั้งหนึ่ง มีชาวบ้านที่เป็นชาวประมงเรือใหญ่ ออกหาปลานอกน่านน้ำไทย ถูกโจรพม่าจับกุมและถูกยิง แต่ปืนยิงไม่ออก ชาวประมงคนนั้นรอดชีวิตมาได้ เพราะได้อมเหรียญหลวงพ่อแฉ่งไว้ในปาก จนเป็นที่กล่าวขานถึงความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน ถือเป็นเหรียญพระใหม่อีกเหรียญที่มาแรง
แหล่งข่าวจากหนังสือ พิมพ์ข่าวสดข่าวสด

คอลัมม์นี้ทางเว็บไม่มี วัตถุมงคลให้เช่าบูชา

เหรียญ พระคันธารราษฎร์ หลวงพ่อโฉม ฐิติญาโณ วัดเขาปฐวี

เหรียญ พระคันธารราษฎร์ หลวงพ่อโฉม ฐิติญาโณ วัดเขาปฐวี

"หลวงพ่อโฉม ฐิติญาโณ" หรือ "พระครูอุทิศธรรมรส" เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ปัจจุบัน สิริอายุ 72 ปี พรรษา 51 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเขาปฐวี ต.ตลุกดู่ อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี หลวงพ่อโฉม ได้มีโอกาสศึกษาวิทยาคมจากพระเกจิอาจารย์ชื่อดังมากมาย อาทิ หลวงปู่ธูป เจ้าอาวาสวัดเขาปฐวี, หลวงพ่อมา วัดมะพร้าวสูง, หลวงปู่เภา วัดถ้ำตะโก เป็นต้น

เหรียญ พระคันธารราษฎร์ หลวงพ่อโฉมเมื่อปี พ.ศ.2516 ตรงกับวันเสาร์ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 โบราณถือว่าเป็นวันฤกษ์แข็ง เหมาะสำหรับการประกอบพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลัง ในครั้งนั้น นายอำเภอทัพทัน ได้มาขอให้หลวงพ่อโฉม ประกอบพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลในวันดังกล่าว โดยเชิญนายไพฑูรย์ เก่งสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี ในสมัยนั้น เป็นประธานในพิธี

พระคณาจารย์ที่ร่วมนั่งปรก อาทิ พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา, พระอาจารย์ปาน วัดเขาอ้อ, หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน, อาจารย์ขาว วัดเขาอ้อ และอีกมากมาย ประกอบพิธีปลุกเสกในอุโบสถวัดเขาปฐวี ภายในถ้ำเขาปฐวี พิธีเริ่มตั้งแต่เวลา 18.00 น. ไปจนถึงเวลา 06.00 น. ของวันรุ่งขึ้น

วัตถุมงคลรุ่นนี้ เรียกว่า "พระ คันธารราษฎร์" เป็นพระศิลปะแบบอินเดีย จีวรริ้ว ยกพระหัตถ์ประทานพร ทำจากเนื้อทองวรรณะเหลือง รมดำ มี 2 แบบ เป็นรูปลอยองค์มีกริ่ง สร้าง 8,000 องค์ และเป็นเหรียญรูปไข่ 30,000 เหรียญ

สำหรับเหรียญพระคันธารราษฎร์ วัดเขาปฐวี ปี 2516 ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ เนื้อทองวรรณะเหลืองรมดำ ขนาด 1.5x2.6 เซนติเมตร ด้านหน้าเหรียญ มีขอบรอบวง ยกซุ้มห่วง มีพระคันธารราษฎร์ ยกพระหัตถ์ประทานพร นั่งอยู่กลางเหรียญ ด้านซ้ายมือขององค์พระ มีพระอาทิตย์กำลังส่องแสงมีเมฆลอยอยู่ด้านข้าง

ด้านหลังเหรียญ มีขอบเพียงเล็กน้อย กลางเหรียญเป็นยันต์ห้า มีอักขระขอม "นะโม พุท ธายะ" กำกับด้วย อุณาโลม 3 ยอด ด้านล่างของยันต์ มีอักขระขอม "นะ อุ อะ มะ" ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ล่างสุดมีตัวหนังสือเขียนว่า "พุ ทธาภิเศก วัดเขาปฐวี ๒๕๑๖"

กล่าวขวัญกันในหมู่แวดวงพระเครื่องวัตถุมงคลในเมืองอุทัยธานี ว่า เหรียญ พระคันธารราษฎร์ วัดเขาปฐวี ปี 2516 ได้รับความนิยมและเป็นที่ต้องการจากบรรดานักสะสมและเซียนพระ ต่างพากันกะเก็งว่า วัตถุมงคลรุ่นนี้จะได้รับความนิยมสูง

ผู้ที่ห้อยเหรียญพระคันธารราษฎร์รุ่นนี้ ต่างมีประสบการณ์อัศจรรย์มากมาย ดังนั้น ผู้ที่นิยมสะสมเหรียญวัตถุมงคล ควรหามาไว้ในครอบครอง ด้วยเป็นเหรียญที่ราคาเช่าหายังไม่สูงเท่าใดนัก เหรียญสวยราคาเช่าหาจะอยู่ที่หลักพันต้น สวยน้อยราคาอยู่หลักร้อยกลาง

จัดเป็นเหรียญยอดนิยมอีกเหรียญหนึ่งของเมืองอุทัยธานี เหรียญรุ่นนี้ ยังพอมีเหลืออยู่บ้างที่วัดเขาปฐวี ผู้สนใจสามารถไปติดต่อขอเช่าบูชาได้ที่วัดเขาปฐวีเท่านั้น
แหล่งข่าวจากหนังสือ พิมพ์ข่าวสดข่าวสด

คอลัมม์นี้ทางเว็บไม่มี วัตถุมงคลให้เช่าบูชา

เหรียญ-เสือปั๊มรุ่นแรก หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว

เหรียญ-เสือปั๊มรุ่นแรก หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว

พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง "หลวงพ่อเพิ่ม" วัดป้อม แก้ว อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ท่านได้เมตตา พระมหาวรากร ฐิตญาโณ และคณะศิษย์วัดบรรลือธรรม อนุญาตให้จัดสร้างวัตถุมงคล เหรียญสตางค์สิบ พระขุนแผน พระนางพญา และเสือปั๊มรุ่นแรก

หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้วเพื่อให้ลูกศิษย์ลูกหาและ ประชาชนทั่วไป ร่วมบุญบูชานำรายได้ก่อสร้างหมู่กุฏิสงฆ์วัดบรรลือธรรม ที่สร้างค้างคาอยู่ให้แล้วเสร็จ ซึ่งหลวงพ่อเพิ่มได้เมตตา เจิมบล็อกพระเป็นปฐมฤกษ์ และปลุกเสก ประจุพลังพุทธคุณให้อย่างเต็มที่

สำหรับเหรียญสตางค์สิบ หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้วนั้น เซียนพระสายอยุธยา สายนครปฐม และส่วนกลาง รวมทั้งนักนิยมพระใหม่ พระเก่า จากหลายสำนัก ต่างเสาะแสวงหากันจ้าละหวั่น คนละหลายสิบเหรียญ เพราะช่างแกะเหรียญได้สวยงาม เหมือนหลวงพ่อเพิ่มที่สุด อีกทั้งเชื่อถือในวัตรปฏิบัติ และเวทวิทยาคมของหลวงพ่อเพิ่ม และต่างคาดกันว่า อีกไม่นานเหรียญสตางค์สิบของหลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว คงจะมีค่านิยมไม่แพ้เหรียญสตางค์สิบของ หลวง ปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว นครปฐมที่มีค่านิยมอยู่หลักหมื่นปลายแสนต้น อย่างแน่นอน

ส่วนเสือปั๊มรุ่นแรก ที่ช่างแกะนำเสือปั๊มของหลวงพ่อวงศ์ วัดปริวาส ซึ่งเป็นเสือปั๊มโลหะที่มีราคาเช่าหาแพงที่สุดในยุคปัจจุบัน มาเป็นต้นแบบ แต่งพิมพ์เพิ่มเติม ปั๊มแบบตันทั้งตัวไม่เจาะรู ให้ดูมีเอกลักษณ์เป็นเสือปั๊มของหลวงพ่อเพิ่ม วัด ป้อมแก้ว จึงเป็นงานปั๊มโลหะที่ดูโบราณ เข้มขลัง ทรงพลัง มีอำนาจในตัว ยิ่งหลวงพ่อเพิ่มปลุกเสกให้อย่างเต็มที่ด้วย แล้ว นับได้ว่าเป็นเสือปั๊มโลหะยุคปัจจุบันที่น่าสะสมที่สุดเหรียญ-เสือปั๊มรุ่นแรก หลวงพ่อเพิ่ม

ในส่วนของ พระขุนแผน และ พระนางพญา จัดสร้างขึ้นทั้ง 3 เนื้อ ได้แก่ เนื้อผงรังต่อ, เนื้อผงชานหมาก และเนื้อผงธูปกรรมฐาน ถือเป็นพระเนื้อผงที่เป็นเอกลักษณ์แห่งยอดขุนพล และพระนางพญาเมืองกรุงเก่า สืบเนื่องมาจากหลวงปู่ทิม วัดพระขาว, หลวงปู่เอียด วัดไผ่ล้อม ซึ่งล้วนแล้วแต่ได้รับความนิยมอย่างสูงสุด และ ณ มงคลกาลครั้งนี้ หลวง พ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว เมตตา ปลุกเสกพระขุนแผนมอบให้สำหรับชายชาตรี และปลุกเสกพระนางพญามอบให้สุภาพสตรี และเด็ก เพื่อเป็นสิ่งมงคลคุ้มครองให้เกิดโชคดี มีลาภ และแคล้วคลาดปลอด ภัย

รายการวัตถุมงคลดังนี้


1.เหรียญสตางค์สิบขอบสตางค์ เนื้อเงินหลังเรียบ และหลังยันต์เหรียญรุ่นแรก สร้างอย่างละ 499 เหรียญ มีการตอกโค้ด และหมายเลขทุกเหรียญ เนื้อนวโลหะหลังเรียบ และหลังยันต์เหรียญรุ่นแรก สร้างอย่างละ 2,999 เหรียญ  ตอกโค้ด และหมายเลขทุกเหรียญ เนื้อทองเหลืองหลังเรียบ และหลังยันต์เหรียญรุ่นแรกสร้างอย่างละ 3,999 ตอกโค้ดทุกเหรียญ

2.เสือปั๊มรุ่นแรก เนื้อนวโลหะแก่เงิน สร้างจำนวน 1,999 ตัว ตอก 2 โค้ดทุกตัว เนื้อทองแดง สร้างจำนวน 2,999 ตัว ตอกโค้ดทุกตัว

3.พระขุนแผนรุ่นแรก เนื้อชานหมาก, เนื้อผงรังต่อ และเนื้อผงธูป ทุกองค์ กดโค้ดเป็นสำคัญ บรรจุตะกรุด 3 ดอก สร้างเนื้อละ 299 องค์ บรรจุตะกรุด 2 ดอก สร้างเนื้อละ 999 องค์  บรรจุตะกรุด 1 ดอก สร้างเนื้อละ 999 องค์

4.พระนางพญารุ่นแรก เนื้อชานหมาก, เนื้อผงรังต่อ และเนื้อผงธูป ทุกองค์กดโค้ดเป็นสำคัญ บรรจุตะกรุด 2 ดอก สร้างเนื้อละ 999 องค์ บรรจุตะกรุด 1 ดอก สร้างเนื้อละ 999 องค์
แหล่งข่าวจากหนังสือ พิมพ์ข่าวสดข่าวสด

คอลัมม์นี้ทางเว็บไม่มี วัตถุมงคลให้เช่าบูชา

เหรียญ หลวงปู่หนูหล้า ปัญญาโชโต วัดบ้านซำแฮด รุ่นแรก

เหรียญ หลวงปู่หนูหล้า ปัญญาโชโต วัดบ้านซำแฮด รุ่นแรก

"หลวงปู่หนูหล้า ปัญญาโชโต" หรือ "พระครูธรรโมภาษ ผดุงกิจ" อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านซำแฮด และอดีตเจ้าคณะตำบลบรบือ อ.บรบือ จ.มหาสารคาม เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังสายวิปัสสนากัมมัฏฐานแห่งเมืองมหาสารคาม สืบสายธรรมจากหลวงปู่ต้น วัดบ้านดงเค็ง ต.ท่าสองคอน อ.เมือง จ.มหาสารคาม บูรพาจารย์รุ่นเก่าของภาคอีสาน

เหรียญ หลวงปู่หนูหล้าหลวงปู่หนูหล้า เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2446 ณ บ้านหนองสิมใหญ่ อ.บรบือ อายุครบ 20 ปี ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดกลางกุดรัง อ.กุดรัง จ.มหาสารคาม โดยมีหลวงปู่ต้น วัดบ้านดงเค็ง เป็นพระอุปัชฌาย์

หลวงปู่หนูหล้า มรณภาพอย่างสงบ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2524 ด้วยโรคชรา สิริรวมอายุ 78 พรรษา 58 สำหรับ วัตถุมงคลของหลวงปู่หนู หล้าสร้างน้อยมาก แต่ที่เป็นสุดยอดปรารถนาของศิษยานุศิษย์คือ เหรียญรูปไข่รูปเหมือนหลวงปู่หนูหล้า รุ่นแรกสร้างปี 2519

สำหรับเหรียญหลวงปู่หนูหล้ารุ่นนี้ทางวัดจัดสร้างขึ้น เนื่อง ในวาระที่หลวงปู่หนูหล้าได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้น เอก ทางวัดได้แจกศิษยานุศิษย์ รวมทั้งแจกให้กับพุทธศาสนิกชนที่มาร่วมงานเฉลิมฉลอง เป็นเหรียญทองแดงรมดำ จำนวนการสร้างประมาณ 5,000 เหรียญ

ลักษณะเป็นเหรียญมีหูห่วง ด้านหน้ายกขอบ ด้าน หน้าเหรียญ ตรงกลางเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงปู่หนูหล้าครึ่งองค์ หันหน้าตรง จากด้านซ้ายของเหรียญมีตัวหนังสือโค้งขึ้นไปด้านบนวนลงไปทางขอบเหรียญด้าน ขวา เขียนคำว่า "พระครูธรรโมภาษผดุงกิจ (หนูหล้า) วัดซำแฮด"

ส่วน ด้านหลังเหรียญ จะเป็นยันต์อักขระคล้ายหลวงพ่อเงินวัดดอนยายหอม แถวบนอ่านว่า "อุ อัง ทะ ปะ โย บู โอ ยัง โบปิ อะ อุ รือ" กลางเหรียญอ่านว่า "ฒา อิ ปิ ฒา อะ ตะ พัง ริ วัง ปุง ปัง โย มา เน" ส่วนด้านล่างเหรียญเขียนคำว่า "อ.บรบือ จ.มหาสารคาม" เป็นยันต์มหาลาภ ทั้งเมตตามหานิยม ป้องกันภัย แคล้วคลาด ฯลฯ

สำหรับเหรียญรุ่นนี้หลวงปู่หนูหล้าได้ประกอบพิธีพุทธา ภิเษกเดี่ยว ภายในอุโบสถตลอดพรรษา ด้วยความที่หลวงปู่มีพลังจิตที่แก่กล้า เจตนาการจัดสร้างที่บริสุทธิ์พุทธคุณจึงโดดเด่นรอบด้าน

ผู้ที่มีเหรียญหลวงปู่หนูหล้ารุ่นนี้ต่างมีประสบ การณ์มากมาย บางรายบูชาแล้วได้โชคลาภเป็นประจำ เหรียญหลวงปู่หนู หล้านับเป็นเหรียญดีอีกเหรียญหนึ่งของจังหวัดมหาสารคามที่มีอนาคต ไกล เนื่องจากได้รับการพุทธาภิเษกถึง 3 ครั้ง แต่ปรากฏว่าราคาเช่าหายังอยู่หลักร้อยต้นเท่านั้น หากเป็นเหรียญสวยๆ จะอยู่ที่หลักร้อยปลาย สวยน้อยลงมาราคาอยู่หลักร้อยต้น

แม้เหรียญนี้เพิ่งจัดสร้างออกมาเพียงไม่นาน แต่ปรากฏว่าบรรดาเซียนพระและนักนิยมสะสมพระเครื่องต่างเริ่มเสาะหา
แหล่งข่าวจากหนังสือ พิมพ์ข่าวสดข่าวสด

เหรียญรุ่นสุดท้าย หลวงปู่คำพันธ์ วัดพระธาตุมหาชัย

เหรียญรุ่นสุดท้าย หลวงปู่คำพันธ์ วัดพระธาตุมหาชัย

"พระสุนทรธรรมกร" หรือ "หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ" อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุมหาชัย ต.มหาชัย อ.ปลา ปาก จ.นครพนม พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งภาคอีสาน ที่มีวิชากัมมัฏฐานแก่กล้าเรืองวิทยาคม เล่นแร่แปรธาตุจนเลื่องชื่อ ได้รับสมญานามว่า "เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำโขง"

เหรียญรุ่นสุดท้าย หลวงปู่คำพันธ์ ท่าน ได้รับแนวทางในการฝึกปฏิบัติกัมมัฏฐานจาก หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ในห้วงที่ท่านยังมีชีวิตได้สร้างวัดวาอาราม อุโบสถ โรงพยาบาล และโรงเรียนขึ้นหลายแห่ง ครั้นล่วงเข้าสู่วัยชราภาพ ท่านมีโรคประจำ ตัวรุมเร้า อาพาธนานหลายปี จนเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2546 เวลาประมาณ 01.59 น. ท่านได้ละสังขารลงอย่างสงบ สิริรวมอายุ 89 ปี พรรษา 59

กล่าวขานกันว่า วัตถุมงคลหลายรุ่นของหลวง ปู่คำพันธ์ มีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ผู้ที่มีไว้ในครอบครองบูชา ล้วนไม่เคยลำบากหรือเดือดร้อน ไม่มีอุปสรรคเข้ามาแผ้วพาน ประสบโชคลาภเงินทองไหลมาเทมาผู้ที่มีวัตถุมงคลหลวงปู่คำพันธ์ ให้ จุดธูปบูชาอธิษฐานขอพร นำเหรียญหรือวัตถุมงคลไว้ในมือ สวดนะโม 3 จบ จะเกิดสิ่งดลใจให้สมความปรารถนาทุกประการ

ทั้งนี้ ก่อนหน้าที่หลวงปู่คำพันธ์จะมรณภาพไม่นาน ท่านได้นั่งภาวนาอธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคล ซึ่งเป็นรุ่นสุดท้ายจริงๆ คือ "เหรียญ หลวงปู่คำพันธ์ รุ่น พ.ศ.2546" จัดสร้างโดย พล.ต.สมศักดิ์ ถาวรศิริ ขณะครองตำแหน่งเป็นรองผู้บัญชาการมลฑลทหารบกที่ 3 (ร.3 พัน 3) อุดรธานี เนื่องในโอกาสที่ระลึกครบรอบ 100 ปี กองพลทหารราบที่ 3 ได้ทำไว้แจกจ่ายให้แก่กำลังพลเป็นขวัญและกำลังใจ

เหรียญหลวงปู่คำพันธ์รุ่นดังกล่าว จัดสร้างเป็นเหรียญรูปไข่ ไม่มีหูห่วง ประกอบด้วย เนื้อทองคำ 4 เหรียญ เนื้อเงิน 199 เหรียญ เนื้อทองเหลือง 300 เหรียญ และเนื้อทองแดง 10,000 เหรียญ ด้านหน้าเหรียญ มีรูปเหมือนหลวงปู่คำพันธ์หน้าตรงครึ่งองค์ เหรียญรุ่นนี้มีความหนา 4 มิลลิเมตร ด้านล่างจากขอบไหล่ด้านซ้ายถึงจีวรด้านขวา สลักตัวหนังสือนูน "หลวง ปู่คำพัน โฆสปัญโญ"

ด้านหลังเหรียญ ครึ่งวงรีสลักตัวหนังสือคำว่า "ที่ระลึกครบรอบ ๑๐๐ ปี" ขั้นกลางมีตรากงจักร และสลักวันเดือนปีที่สร้าง "๑๓ เมษายน ๒๕๔๖" ตรงกลางเหรียญมีตราสัญลักษณ์ของกองพลทหารราบที่ ๓ พร้อมคำขวัญระบุว่า "พลีชีพ พิทักษ์ชาติ"

ลักษณะเด่นของเหรียญรุ่นนี้ มีความหนาพิเศษ โดยเฉพาะรูปเหมือนหลวง ปู่คำพันธ์จะนูนสวยลอยองค์ จมูกไม่แบน และสวยที่สุดของเหรียญรูปไข่เท่าที่จัดสร้างมา ข้อสังเกต ถ้าเป็นของเก๊เหรียญจะพร่ามัว แต่ถ้าเป็นเหรียญแท้จะมีเส้นรัศมี

เหรียญรุ่นนี้ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านแคล้วคลาดสูง คือ ปกปักรักษา และมหาโชคมหาลาภ การเช่าหาบูชาเหรียญ เนื้อทองคำอยู่ที่ 300,000 บาท เนื้อเงิน 12,000-15,000 บาท เนื้อทองเหลือง 4,000-5,000 บาท และเนื้อทองแดงหลักพัน-พันกลาง ขึ้นอยู่ตามสภาพการใช้งานเป็นเหรียญหลวง ปู่คำพันธ์รุ่นสุดท้ายที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงและได้รับ ความนิยมสูงในขณะนี้
แหล่งข่าวจากหนังสือ พิมพ์ข่าวสดข่าวสด

คอลัมม์นี้ทางเว็บไม่มี วัตถุมงคลให้เช่าบูชา

เหรียญสตางค์สิบ หลวงปู่เพิ่ม วัดป้อมแก้ว

เหรียญสตางค์สิบ หลวงปู่เพิ่ม วัดป้อมแก้ว

พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองกรุงเก่า "หลวงปู่เพิ่ม"วัด ป้อมแก้ว อ.บาง ไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ท่านได้เมตตา "พระ มหาวรากร ฐิตญาโณ" และคณะศิษย์วัดบรรลือธรรม อ.นคร หลวง จ.พระนครศรีอยุธยา อนุญาตเป็นกรณีพิเศษให้จัดสร้างวัตถุมงคลในนามหลวง ปู่เพิ่ม เพื่อหาปัจจัยในการก่อสร้างหมู่กุฏิสงฆ์วัดบรรลือธรรม ที่สร้างค้างคาอยู่ให้แล้วเสร็จ

เหรียญสตางค์สิบ หลวงปู่เพิ่ม วัดป้อมแก้วหลวงปู่ เพิ่ม ได้เมตตาเจิมบล็อก วัตถุมงคลเป็นปฐมฤกษ์ และปลุกเสก ประจุพลังพุทธคุณให้อย่างเข้มขลังเต็มที่ โดยมีรายการวัตถุมงคลเด่นคือ "เหรียญ สตางค์สิบขอบสตางค์" ปี 2553 จัดสร้างด้วยเนื้อเงิน เนื้อนวโลหะ และเนื้อทองเหลือง มีทั้งแบบหลังเรียบ และหลังยันต์เหรียญรุ่นแรก จำนวนการสร้างจำกัด แต่เน้นแกะเหรียญให้สวยงาม ใบหน้าเหมือนหลวงปู่ เพิ่มมากที่สุด จึงเป็นเหรียญที่สวยด้วยพุทธศิลป์ สูงด้วยพุทธคุณ

สำหรับเหรียญสตางค์สิบ "หลวงปู่เพิ่ม วัดป้อมแก้ว" รุ่นนี้นั้น เซียนพระสายอยุธยา สายนครปฐม และส่วนกลาง รวมทั้งนักนิยมพระใหม่ พระเก่า จากหลายสำนัก ต่างเสาะแสวงหากันมาก คนละหลายสิบเหรียญ ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม เพราะช่างแกะเหรียญได้สวยงาม เหมือนหลวงปู่เพิ่มที่สุด อีกทั้งเชื่อถือในวัตรปฏิบัติ และเวทวิทยาคมของหลวง ปู่เพิ่ม และต่างคาดกันว่า อีกไม่นานเหรียญสตางค์สิบของหลวง ปู่เพิ่ม วัดป้อมแก้ว คงจะมีค่านิยมไม่แพ้เหรียญ สตางค์สิบของ หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม ซึ่งปัจจุบันที่มีค่านิยมอยู่หลักหมื่นปลาย ถึงแสนต้นอย่างแน่นอน

"เหรียญ สตางค์สิบขอบสตางค์" จัดสร้าง เนื้อเงินหลังเรียบ และหลังยันต์เหรียญรุ่นแรก สร้างอย่างละ 499 เหรียญ มีตอกโค้ดและหมายเลขกำกับทุกเหรียญ เนื้อนวโลหะหลังเรียบ และหลังยันต์เหรียญรุ่นแรก สร้างอย่างละ 2,999 เหรียญ มีตอกโค้ดและหมายเลขกำกับทุกเหรียญ เนื้อทองเหลืองหลังเรียบ และหลังยันต์เหรียญรุ่นแรก สร้างอย่างละ 3,999 เหรียญ มีตอกโค้ดและหมายเลขกำกับทุกเหรียญ สร้างพร้อมเสือปั๊มรุ่นแรก พระขุนแผนรุ่นแรก เนื้อชานหมาก เนื้อผงรังต่อ และเนื้อผงธูป พระนางพญารุ่นแรกเนื้อชานหมาก เนื้อผงรังต่อ และเนื้อผงธูป ทุกองค์มีโค้ดกำกับ

ร่วมทำบุญบูชาวัตถุมงคลเหรียญสตางค์สิบหลวงปู่เพิ่ม และ วัตถุมงคลอื่นๆ ได้ที่ วัดป้อมแก้ว อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา,วัดบรรลือธรรม อ.นครหลวง จ.พระนครศรี อยุธยา และที่พระครูสุวรรณธรรมรังสี วัด เสนาสนาราม (หอไตร) ต.หัวรอ อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นวัตถุมงคลดีน่ามีไว้บูชาอีกรุ่น
แหล่งข่าวจากหนังสือ พิมพ์ข่าวสดข่าวสด

คอลัมม์นี้ทางเว็บไม่มี วัตถุมงคลให้เช่าบูชา

เหรียญเสมา หลวงปู่ผล อินทังกุโร วัดอินทาราม

เหรียญเสมา หลวงปู่ผล อินทังกุโร วัดอินทาราม

พระครูศีลทิวากร หรือ หลวงปู่ผล อินทังกุโร วัดอินทาราม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา พระเถราจารย์ซึ่งเป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวบ้านบางบาล และท้องถิ่นใกล้เคียงเป็นอย่างมาก ด้วยปัจจุบันท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีอายุพรรษากาลมากที่สุดเป็น อันดับ 2 ของพระนครศรีอยุธยารองจากหลวงปู่สวัสดิ์ วัดศาลาปูน จ.พระนครศรีอยุธยา

"หลวงปู่ผล" เป็นพระสงฆ์ที่เข้าพบง่าย สมถะ มีวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัด ไม่สะสมทรัพย์สินมีค่าใดๆ ทั้งสิ้น สมกับเป็นพุทธบุตรโดยแท้ นอกจากนี้ ท่านยังแตกฉานทางด้านพระปริยัติธรรมเป็นอย่างมาก เพราะย้อนรอยถอยหลังไป 40-50 ปี ในสมัยที่ท่านเป็นพระหนุ่ม ท่านมุ่งศึกษาทางด้านพระวินัย สามารถจำแนก แจกแจงได้เป็นหมวดหมู่ ท่านจึงเป็นพระธรรมกถึกที่มีชื่อเสียง ทางด้านตอบปริศนา ธรรม ปุจฉา วิสัชนาของจังหวัดพระนคร ศรีอยุธยาเลยทีเดียว

นอกจากนี้ หลวงปู่ผลยังได้ศึกษาพุทธาคมจากหลวงปู่ คง วัดอินทาราม อดีตเจ้าอาวาส ซึ่งเป็นพระที่เรืองอาคมมาก ทั้งยังเป็นพระหมอยาร่วมสมัยกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค และหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อีกด้วย

เหรียญเสมา หลวงปู่ผล เหรียญเสมา หลวงปู่ผล


หลวงปู่ผล เล่าว่า "แม้หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ยังยกย่องวิชาด้านหมอยาของหลวงพ่อคงว่าเป็นหมอเทวดา สามารถแจกแจงโรคถูก ลองได้รักษาใครถ้าบอกหาย เป็นหายตามปาก ถ้าบอกว่าหมดบุญ ในเวลากี่วัน ย่อมเป็นไปตามปากท่านไม่มีผิดเพี้ยนเลย"

ความ เรืองอาคมของหลวงพ่อคงนั้น ท่านเคยทดลองวิชาให้ศิษย์ดูเป็นหลักฐาน แม้เดี๋ยวนี้หลักฐานชิ้นนั้นก็ยังอยู่ และเก็บรักษาไว้ที่หลวงปู่ผล กล่าวคือ ท่านเคยเสกลูกตะกร้อเข้าขวดแก้ว เสกสายสิญจน์ม้วนใหญ่เข้าขวดแก้ว เพื่อเป็นการทดลองวิชาให้ศิษย์ดูว่า คนโบราณเขาเสกหนังวัว หนังควายผืนใหญ่ๆ เข้าท้องคนได้อย่างไร

เมื่อหมดบุญ "หลวงพ่อคง วัดอินทาราม" ท่านได้มาฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อเกลี้ยง วัดตะกู ซึ่งได้ชื่อว่า เป็นยอดพระอาจารย์ที่เก่งกาจในเรื่องลงกระหม่อม เชิญครูเทพ ครูพรหม และเสกตะโพน เพื่อเรียนวิชาทางลงของลงอาคม และวิชาทางพรหมศาสตร์ชั้งสูง

หลวงปู่ผล สร้างพระเครื่องไว้ ไม่มาก โดยเฉพาะประเภทเหรียญ ท่านสร้างเหรียญรูปหลวงพ่อคงองค์อาจารย์เป็นรุ่นแรก มีประสบการณ์มากมาย แต่ท่านไม่ค่อยแจกใคร ส่วน "เหรียญเสมาหลังยันต์นารายณ์แปลงรูป" นี้ ท่านสร้างเป็นเหรียญรูปเหมือนท่านรุ่นแรก ด้านหน้าเป็นรูปหลวงปู่ผล ช่างแกะแม่พิมพ์ได้สวยงาม

ด้านหลังลงพระยันต์นารายณ์แปลงรูป ซึ่งมีพุทธคุณ "แปลง" สิ่งที่ไม่ดี ดวงไม่ดี ชะตาชีวิตที่ทรง กับทรุด ฐานชีวิตที่ตก ฐานธุรกิจที่ต่ำ ให้สูงขึ้นได้ แปลงรูปร่างที่ไม่สวยไม่งาม ให้กลับดูดี มีเสน่ห์ พระยันต์ นารายณ์แปลงรูป จึงเป็นยันต์สำคัญที่สุดบทหนึ่งในพุทธาคมทุกสาย เข้มขลัง และศักดิ์สิทธิ์ แปลงชีวิตให้เจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป

ปัจจุบันเหรียญเสมาหลวงปู่ผลหลังยันต์นารายณ์แปลงรูป ได้รับความนิยมจากลูกศิษย์ลูกหาและนักสะสมอย่างมาก เนื้อหาพิมพ์ทรงงดงามยิ่ง
แหล่งข่าวจากหนังสือ พิมพ์ข่าวสดข่าวสด

คอลัมม์นี้ทางเว็บไม่มี วัตถุมงคลให้เช่าบูชา

เหรียญ หลวงปู่อารีย์ เขมจารี (พระอริยานุวัตร) วัดมหาชัย รุ่นแรก

เหรียญ หลวงปู่อารีย์ เขมจารี (พระอริยานุวัตร) วัดมหาชัย รุ่นแรก

หลวงปู่อารีย์ เขมจารี" หรือ "พระอริยานุวัตร" อดีตเจ้าอาวาสวัดมหาชัย (พระอารามหลวง) และอดีตรองเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม เป็นพระนักพัฒนา นักการศึกษา และมีความสามารถรอบรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีอีสาน มีผลงานปรากฏต่อสาธารณชน ในวงกว้าง จนได้รับการยกย่องเป็นปราชญ์แห่งภาคอีสาน

เหรียญพระอริยานุวัตร รุ่นแรกพระอริยานุวัตร เกิด เมื่อปี พ.ศ.2458 ณ คุ้มดอนบม ต.หนองแสง อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดโสมนัสประดิษฐ์ ต.หนองแสง อ.วาปีปทุม หลังอุปสมบทแล้วได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ ศึกษาพระปริยัติธรรม สอบได้นักธรรมชั้นเอก และเปรียญธรรม 5 ประโยค จากนั้นเดินทางกลับอีสานบ้านเกิด จำพรรษาที่วัดมหาชัย

ท่านได้สร้างคุณงามความดีมากมาย ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัด มหาชัย และรองเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม พระอริยานุวัตร มรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อปี พ.ศ.2534 สิริอายุ 78 พรรษา 57

เมื่อ ครั้งที่หลวงปู่อารีย์ยังมีชีวิตท่านได้สร้างวัตถุ มงคลเหรียญรูปเหมือนของท่านหลาย รุ่น แต่ที่ได้รับความนิยมคือ เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก สร้างปี พ.ศ.2519 ในวาระที่อายุครบ 60 ปี

คณะศิษยานุศิษย์และญาติโยมที่เลื่อมใส ศรัทธาในวัตรปฏิบัติของท่าน มีความปรารถนาจัดสร้างวัตถุมงคลที่ระลึกไว้เพื่อรำลึก ได้ร่วมกันจัดสร้างเพื่อแจก ให้ญาติโยมที่มาร่วมงานมุทิตาสักการะหลวง ปู่อารีย์ จำนวนการสร้างไม่เกิน 3,000 เหรียญ เป็นเนื้อทองแดงรมดำ ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีหูห่วง

ด้านหน้าเหรียญยกขอบ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนครึ่งองค์หลวงปู่อารีย์ ด้านล่างเหรียญมีตัวหนังสือ เขียนคำว่า "พระอริยานุวัตร" ส่วน ด้านหลังเหรียญยกขอบ เริ่มจากด้านซ้ายลงไปด้านล่างวนขึ้นไปทางด้านขวาของเหรียญ เขียนคำว่า "วัด มหาชัย จ.มหาสารคาม ๒๕๑๙" เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง ตรงกลางเหรียญเป็นยันต์อักขระรูปใบพัดอ่านว่า "นะ มะ พะ ทะ" ด้านล่างปิดด้วยยันต์อุ ทั้งซ้ายและขวา ด้านบนปิดด้วยยันต์อุณาโลม 3 ตัว เป็นคาถาตั้งธาตุเด่นทางด้านมหาอุตม์ คงกระพันชาตรี และแคล้วคลาดปลอดภัย

สำหรับ เหรียญรุ่นนี้หลวงปู่อารีย์ได้ ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเดี่ยวภายในอุโบสถนาน 1 พรรษา ด้วยความที่หลวงปู่มีพลังจิตที่แก่กล้า เจตนาการจัดสร้างที่บริสุทธิ์ ทำให้เหรียญนี้มีพุทธคุณเข้มขลัง เหรียญพระอริยานุวัตร รุ่นแรก พ.ศ. 2519 จัดเป็นเหรียญเก่าที่ค่อนข้างหายากอีกเหรียญหนึ่งของเมืองมหาสารคาม เป็นเหรียญยอดนิยมและติดอยู่ในทำเนียบรายการประกวดพระในภาคอีสานมาโดยตลอด

ปัจจุบันราคาเช่าหาในพื้นที่ยังไม่สูง เป็นเหรียญดีราคาถูก หากเหรียญสวยคมราคาเช่าอยู่หลักพันต้น สวยน้อยราคาอยู่หลักร้อยกลาง จึงเป็นอีกเหรียญหนึ่งที่นักสะสมนิยมพระเครื่องในพื้นที่ควรหาบูชาไว้ในครอบครอง
แหล่งข่าวจากหนังสือ พิมพ์ข่าวสดข่าวสด

คอลัมม์นี้ทางเว็บไม่มี วัตถุมงคลให้เช่าบูชา

เหรียญ หลวงปู่ขาว ปัญญาวุฑโฒ วัดพุทธมงคล รุ่นเมตตา

เหรียญ หลวงปู่ขาว ปัญญาวุฑโฒ วัดพุทธมงคล รุ่นเมตตา

"หลวงปู่ขาว ปัญญาวุฑโฒ"หรือ "พระครูปัญญาวุฒิ วิชัย" เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งสารคาม เป็นศิษย์สืบสายธรรมพระครูวิชัยกันทรารักษ์ หลวงปู่ขาวเกิด เมื่อปี พ.ศ.2466 ที่บ้านคันธารราษฎร์ จ.มหาสารคาม เมื่ออายุครบบวชได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดสุวรรณมงคล มีพระ ครูวิชัยกันทรารักษ์เป็นพระอุปัชฌาย์


ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์ เรียนวิทยาคมจากพระครูวิชัยกันทรารักษ์ ไม่ว่าจะเป็นเมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี ปกป้องกันบ้านกันเมือง นอกจากนี้ ยังศึกษาไสยเวทเพิ่มเติมจากพ่อธรรมบัว บ้านหนองโก ทำให้ท่านมีวิทยาคมที่เข้มขลัง เป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวกันทรวิชัย ปัจจุบัน หลวงปู่ขาว สิริอายุ 86 ปี พรรษา 66 ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอกันทรวิชัย และเจ้าอาวาสวัดพุทธ มงคล ต.คันธารราษฎร์ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม


เหรียญ หลวงปู่ขาว ปัญญาวุฑโฒเหรียญ หลวงปู่ขาว ปัญญาวุฑโฒ
กล่าว กันว่า งานพุทธาภิเษกวัตถุมงคลในจังหวัด มหาสารคามจะต้องนำวัตถุมงคลมาให้หลวง ปู่ขาว อธิษฐานจิตปลุกเสกให้ หรือนิมนต์หลวงปู่ขาวร่วม พิธีทุกงาน สำหรับ วัตถุมงคลของหลวง ปู่ขาว นับแต่ท่านเข้าสู่สมณเพศจวบจนถึงปัจจุบัน ท่านได้สร้างไว้เพียงรุ่นเดียวถือเป็นสุดยอดปรารถนาของบรรดานักนิยมสะสมพระ เครื่อง คือเหรียญกลมรูปเหมือนหลวงปู่ขาว รุ่นเมตตา วัด พุทธมงคล พ.ศ.2551 จัดสร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่หลวงปู่ ขาวอายุวัฒนมงคล 85 ปี

เหรียญหลวงปู่ขาว รุ่นนี้วัดพุทธมงคลได้ มอบให้ศิษยานุศิษย์ รวมทั้งแจกให้กับผู้ที่มาร่วมงานมุทิตาจิต เป็นเหรียญทรงกลม มีหูห่วงเนื้อทอง แดงรมดำ จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ ด้านหน้า เหรียญ เป็นรูปเหมือนหลวงปู่ขาวครึ่งองค์ จากด้านซ้ายของเหรียญโค้งขึ้นไปด้านบนวนลงไปทางด้านขวา เขียนว่า "หลวง ปู่ขาว" วัดพุทธมงคล อ.กันทรวิชัยจ.มหาสาร- คาม"

ด้านหลังเหรียญ บริเวณใต้ห่วงเขียนว่า "รุ่นเมตตา" บริเวณกลางเหรียญเป็นยันต์อักขระ นะโม พุทธายะ เป็นยันต์ที่มีพุทธคุณด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย และจากขอบเหรียญด้านซ้ายวนลงมาด้านล่างวกขึ้นไปด้านขวา เขียนว่า "อายุวัฒนะมงคล ๘๕ ปี ๓๑ ม.ค.๕๑" เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง

สำหรับเหรียญรุ่นดังกล่าวหลวงปู่ขาวได้ประกอบพิธีพุทธา ภิเษกเดี่ยว ภายในอุโบสถตลอดพรรษา ด้วย ความที่หลวงปู่ขาวมี พลังจิตแก่กล้า เจตนาการจัดสร้างที่บริสุทธิ์ ทำให้เหรียญนี้มีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้าน อีกทั้งเป็นวิทยาคมสายพระ ครูวิชัยกันทรารักษ์ ความเข้มขลังจึงสูงยิ่ง

ถึงแม้จะเป็นเหรียญใหม่ จัดสร้างได้เพียง แค่ปีเศษก็ตาม แต่ผู้ที่มีเหรียญ หลวงปู่ขาวในครอบครองต่างมีประสบการณ์อัศจรรย์มาก มายสามารถผ่อนหนักเป็นเบา ส่งผลให้เป็นเหรียญที่มีอนาคตไกล กระแสเริ่มแรง ด้วยศิษยานุศิษย์ผู้เลื่อมใสศรัทธาและนักนิยมสะสมวัตถุมงคล ต่างเริ่มเช่าหาเก็บกันไว้ ทำให้เหรียญเริ่มหายากขึ้น

ราคาเช่าหา เหรียญสวยจะอยู่หลักร้อยปลาย สวยน้อยราคาอยู่หลักร้อยต้น ผู้ที่สนใจยังพอหาเช่าได้ตามศูนย์พระเครื่องในกันทร วิชัยและเมืองมหาสารคาม
แหล่งข่าวจากหนังสือ พิมพ์ข่าวสดข่าวสด

คอลัมม์นี้ทางเว็บไม่มี วัตถุมงคลให้เช่าบูชา

พระพรหม-พิฆเนศวร หลวงพ่อผาด วัดไร่

พระพรหม-พิฆเนศวร หลวงพ่อผาด วัดไร่

สร้าง วัตถุมงคลออกมาหลายรุ่น ส่วนใหญ่ได้รับความนิยมจากลูกศิษย์ลูกหาและนักสะสมแทบทุกรุ่น ล่าสุด "หลวง พ่อผาด" พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดไร่ ต.ศาลเจ้าโรงทอง อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่าง ทอง ศิษย์สายวิชาพรหมของหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม ได้จัดสร้างวัตถุมงคล "ชุดซ่อมโบสถ์" เพื่อหาปัจจัยซ่อมแซมอุโบสถวัดไร่ ซึ่งชำรุดทรุดโทรมลงตามกาลเวลา

หลวงพ่อผาด วัดไร่รูปแบบพิมพ์ทรงที่จัดสร้างเด่นๆ ก็มี "พระพรหม" ขนาดบูชาหน้าตัก 5 นิ้ว ศาสนาพรามหณ์ เชื่อว่า พระพรหม เป็นมหาเทพผู้สร้างโลก เพราะพระพรหมสร้างโลก จึงเกิดโลก เกิดมนุษย์ เกิดเป็นประเทศ เป็นทวีป เกิดเป็นพระราชาปกครองประเทศ เกิดเป็นพระมหาจักรพรรดิปกครองทวีป เกิดยศ เกิดอำนาจ เกิดบารมี เกิดทรัพย์สิน เงินทองมากมาย เกิดโภคสมบัติ เกิดสรรพมงคลต่างๆ ขึ้นตามมา จึงสรุปว่าสรรพมงคลต่างๆ เกิดขึ้นเพราะเหตุพระ พรหมสร้างโลก เมื่อพระพรหมเป็นเทพเจ้าผู้สร้าง ผู้มอบมหามงคลต่างๆ ให้มนุษย์พิฆเนศวร หลวงพ่อผาด

หลวงพ่อผาด จึงได้สร้างพระพรหมบูชา เพื่อหวังพรหมมานุภาพของพระพรหม มอบและบันดาลสรรพมงคลต่างๆ ที่ปรารถนา แก่ท่านผู้เสียสละปัจจัยร่วมสร้างและซ่อมแซมโบสถ์วัดไร่ หล่อหลอมด้วยชนวนมวลสารมงคลมากมาย มอบแก่ผู้มีจิตศรัทธาบูชา

"พระพิฆเนศวร" ขนาดบูชารุ่นแรก เป็นมหาเทพแห่งความสำเร็จ การบรรลุถึงจุดมุ่งหมายทุกชนิด เป็นมหาเทพที่ทำลายอุปสรรค์ เป็นมหาเทพแห่งสติปัญญา การศึกษาเล่าเรียน เป็นมหาเทพแห่งศิลปวิทยาทั้งปวง และเป็นมหาเทพที่จะได้รับการบูชา กราบไหว้ก่อนมหาเทพ และเทพเจ้าองค์อื่นเสมอ หากได้กราบไหว้บูชาพระพิฆเนศวรด้วย ใจเคารพเลื่อมใสแล้ว จะมีสติปัญญาล้ำเลิศ สมองดีสติดี ศึกษาศิลปวิทยาการ วิชาความรู้ใดๆ แล้ว จะสำเร็จสมดังหวัง จะเจริญด้วยโภคทรัพย์ เพราะลักษณะท้องที่ใหญ่โตของพระพิฆเนศวร มีเพชรนิลจินดาทรัพย์สินเงินทองอัดแน่นอยู่เต็มท้อง ทำการงานใดๆ แล้ว จะสำเร็จ ดังใจปรารถนาได้โดยง่าย ปราศจากอุปสรรค ขวากหนามทั้งปวง ชีวิตหน้าที่การงานจะเจริญก้าวหน้าขึ้นจนถึงจุดสูงสุด

พระพรหม หลวงพ่อผาดพระพิฆเนศวรบูชารุ่นแรก สร้างเป็นปางยืนเหยียบอยู่บนฐานดอกบัว หมายถึงความมั่นคง มั่งคั่ง ในฐานะ การเงิน การงาน ความอุดมสมบูรณ์ โภคสมบัติพูลสุข ดูได้จากท้องที่ใหญ่โต มี 4 กร แฝงความหมายดังนี้ กรหนึ่งทรงตรีศูล คืออาวุธที่ปราบมาร ปราบอุปสรรค์ ปราบปัญหา ปราบคนพาล ปราบคนโกง คนคอยกลั่นแกล้ง คนอิจฉาริษยาทั้งปวง อีกกรหนึ่งทรงบาศ หรือบ่วงบาศ หมายถึง ทรงใช้บ่วงบาศ

เพื่อจับมัดยึดสรรพมงคลต่างๆ ให้แน่น ให้หลั่งไหลเข้ามาสู่ผู้บูชา จับมัดยึดยศถาบรรดาศักดิ์อำนาจวาสนาทรัพย์สมบัติต่างๆ มาสู้ผู้บูชา อีกนัยหนึ่งทรงใช้บ่วงบาศจับมัดพันธนาการอุปสรรคเคราะห์กรรมต่างๆ ที่จะมาแผ้วพานผู้บูชาให้พ้นออกไป ให้ห่างไปจากดวงชะตาห่างไปจากชีวิตผู้บูชา

อีกกรหนึ่งทรงป้อนขนมโม ฑกก้อนใหญ่ใส่ปลายงวง เพื่อเสวยเป็นอาหาร อันแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ ความรุ่งเรืองในการทำมาหากิน มีกิน มีใช้ ไม่ขาด อิ่มอยู่ตลอด เมื่ออิ่มตลอด ย่อมไม่อด ไม่อยาก ไม่ยากจน ซึ่งก็หมายถึง การเป็นเศรษฐี การมีทรัพย์ การรักษาทรัพย์ อยู่ไม่ขาดนั่นเอง อีกกรหนึ่งที่ประทานพร ทรงงาข้างที่หักด้วย อันหมายถึงความมีสติปัญญา ความสำเร็จในการศึกษา ความสำเร็จในการทำงานแบบรุก คือก้าวหน้าแบบรวดเร็ว การได้รับพร ได้รับสรรพมงคลทั้งปวง ที่ฐานบัวยังมีหนูเป็นบริวาร บริวารนี้ หมายถึง การมีบริวาร มีลูกน้อง มีผู้ใต้บังคับบัญชาที่ดี มีลูกหลานว่านเครือดี บริวารรักใคร่สามัคคีกัน
แหล่งข่าวจากหนังสือ พิมพ์ข่าวสดข่าวสด

คอลัมม์นี้ทางเว็บไม่มี วัตถุมงคลให้เช่าบูชา


เหรียญหลวงปู่ศุข พิมพ์รัศมี หลวงพ่อบุญส่ง วัดพระบรมธาตุวรวิหาร "หลวงพ่อบุญส่ง ภัททจาโร" หรือ "พระมหาเจติยา รักษ์" อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดชัยนาท และอดีตเจ้าอาวาสวัด พระบรมธาตุวรวิหาร (พระอารามหลวง ชั้นโท) ต.ชัยนาท อ.เมือง จ.ชัยนาท เป็นพระเถรานุ เถระชื่อดังรูปหนึ่งแห่งเมืองชัยนาท ที่มีศีลาจารวัตรเปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรม เหรียญหลวงปู่ศุข พิมพ์รัศมีหลวงพ่อบุญ ส่งเกิดในสกุลสุบินมิตร์ เป็นชาวชัยนาทโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม 2465 ในช่วงวัยหนุ่มเคยรับราชการครูอยู่ 2 ปี ก่อนลาออกเข้างานใหม่ เป็นหัวหน้าคนงานแขวงการทาง จ.ชัยนาท ทำงานได้เพียงปีเดียวเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ถูกเรียกตัวเข้ารับราชการเป็นทหารอากาศ สังกัดทหารเสนารักษ์ เป็นเวลา 4 ปี ท่าน ได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม 2489 ณ พัทธสีมาวัดศรีวิชัยวัฒนาราม อ.เมือง จ.ชัยนาท โดยมีพระมหาทองเลี่ยม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระปลัดบุญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาเมธี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ภัททาจาโร" พ.ศ.2511 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุวรวิหาร (พระอารามหลวงชั้นโท) เมื่ออายุล่วงเข้าสู่วัยชรา สุขภาพไม่แข็งแรง สุดท้ายได้มรณภาพด้วยโรคหัวใจ ณ โรงพยาบาลรวมแพทย์ชัยนาท เวลา 10.57 น. วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม 2550 สิริอายุ 85 ปี พรรษา 62 ย้อนไปเมื่อปีพ.ศ.2520 หลวงพ่อบุญส่งได้จัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญหลวงปู่ศุข พิมพ์รัศมี เพื่อหารายได้สมทบทุนบูรณะวัด จัดสร้างจำนวน 30,000 เหรียญ เป็นเนื้อทองแดง พิมพ์สี่เหลี่ยม โดยมีพระเกจิอาจารย์ที่มานั่งปรก ปลุกเสกและอธิษฐานจิตจำนวนมาก อาทิ หลวงพ่อโม วัดห้วยกรด, หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง, อาจารย์นอง วัดทรายขาว, หลวงปู่บุดดา วัดกลางชูศรี, หลวงพ่ออุตตมะ วัดวิเวการาม, หลวงพ่อโอด วัดจันเสน, หลวงพ่อแนม วัดเขาหน่อ, หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ เป็นต้น เหรียญหลวงปู่ศุข พิมพ์รัศมี ปี 2520 ด้านหน้าเหรียญเป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิเพชร มีรัศมีเป็นรูปใบโพธิ์ ด้านหลังเหรียญมีอักขระขอมคำว่า "นะ" เป็นตัวนูนเพียงตัวเดียว ไม่มีการจารหรือตอกโค้ด วัตถุมงคลเหรียญ หลวงปู่ศุข พิมพ์รัศมี รุ่นนี้มีประสบการณ์หลากหลาย มีพุทธคุณรอบด้าน ทั้งเมตตามหานิยม มหาโชค มหาลาภ แคล้วคลาดปลอดภัย จากภยันตรายทั้งปวง เป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมจากบรรดาเซียนพระและนักนิยมสะสมพระเครื่องเป็น อย่างยิ่ง แหล่งข่าวจากหนังสือ พิมพ์ข่าวสดข่าวสด คอลัมม์นี้ทางเว็บไม่มี วัตถุมงคลให้เช่าบูชา

เหรียญหลวงปู่ศุข พิมพ์รัศมี หลวงพ่อบุญส่ง วัดพระบรมธาตุวรวิหาร

"หลวงพ่อบุญส่ง ภัททจาโร" หรือ "พระมหาเจติยา รักษ์" อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดชัยนาท และอดีตเจ้าอาวาสวัด พระบรมธาตุวรวิหาร (พระอารามหลวง ชั้นโท) ต.ชัยนาท อ.เมือง จ.ชัยนาท เป็นพระเถรานุ เถระชื่อดังรูปหนึ่งแห่งเมืองชัยนาท ที่มีศีลาจารวัตรเปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรม

เหรียญหลวงปู่ศุข พิมพ์รัศมีหลวงพ่อบุญ ส่งเกิดในสกุลสุบินมิตร์ เป็นชาวชัยนาทโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม 2465 ในช่วงวัยหนุ่มเคยรับราชการครูอยู่ 2 ปี ก่อนลาออกเข้างานใหม่ เป็นหัวหน้าคนงานแขวงการทาง จ.ชัยนาท ทำงานได้เพียงปีเดียวเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ถูกเรียกตัวเข้ารับราชการเป็นทหารอากาศ สังกัดทหารเสนารักษ์ เป็นเวลา 4 ปี

ท่าน ได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม 2489 ณ พัทธสีมาวัดศรีวิชัยวัฒนาราม อ.เมือง จ.ชัยนาท โดยมีพระมหาทองเลี่ยม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระปลัดบุญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาเมธี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ภัททาจาโร"

พ.ศ.2511 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุวรวิหาร (พระอารามหลวงชั้นโท) เมื่ออายุล่วงเข้าสู่วัยชรา สุขภาพไม่แข็งแรง สุดท้ายได้มรณภาพด้วยโรคหัวใจ ณ โรงพยาบาลรวมแพทย์ชัยนาท เวลา 10.57 น. วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม 2550 สิริอายุ 85 ปี พรรษา 62

ย้อนไปเมื่อปีพ.ศ.2520 หลวงพ่อบุญส่งได้จัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญหลวงปู่ศุข พิมพ์รัศมี เพื่อหารายได้สมทบทุนบูรณะวัด จัดสร้างจำนวน 30,000 เหรียญ เป็นเนื้อทองแดง พิมพ์สี่เหลี่ยม

โดยมีพระเกจิอาจารย์ที่มานั่งปรก ปลุกเสกและอธิษฐานจิตจำนวนมาก อาทิ หลวงพ่อโม วัดห้วยกรด, หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง, อาจารย์นอง วัดทรายขาว, หลวงปู่บุดดา วัดกลางชูศรี, หลวงพ่ออุตตมะ วัดวิเวการาม, หลวงพ่อโอด วัดจันเสน, หลวงพ่อแนม วัดเขาหน่อ, หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ เป็นต้น

เหรียญหลวงปู่ศุข พิมพ์รัศมี ปี 2520 ด้านหน้าเหรียญเป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิเพชร มีรัศมีเป็นรูปใบโพธิ์ ด้านหลังเหรียญมีอักขระขอมคำว่า "นะ" เป็นตัวนูนเพียงตัวเดียว ไม่มีการจารหรือตอกโค้ด

วัตถุมงคลเหรียญ หลวงปู่ศุข พิมพ์รัศมี รุ่นนี้มีประสบการณ์หลากหลาย มีพุทธคุณรอบด้าน ทั้งเมตตามหานิยม มหาโชค มหาลาภ แคล้วคลาดปลอดภัย จากภยันตรายทั้งปวง เป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมจากบรรดาเซียนพระและนักนิยมสะสมพระเครื่องเป็น อย่างยิ่ง
แหล่งข่าวจากหนังสือ พิมพ์ข่าวสดข่าวสด

คอลัมม์นี้ทางเว็บไม่มี วัตถุมงคลให้เช่าบูชา

หลวงปู่ทวด-พิฆเนศวร หลวงพ่อเสนอ วัดบ้านทุ่งเสรี

หลวงปู่ทวด-พิฆเนศวร หลวงพ่อเสนอ วัดบ้านทุ่งเสรี

วัดบ้านทุ่งเสรี หัวหมาก รามคำแหง ซอย 24 กรุงเทพฯ เดิมเป็นชื่อที่ใช้เรียกกันไปตามหมู่บ้านเสรีในระยะแรกเริ่มพัฒนาขึ้นเป็น วัดมีพระสงฆ์ แต่ความจริงแล้ววัดแห่งนี้มิใช่วัดใหม่ เป็นวัดเก่าวัดแก่ที่มีมานานแล้วตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์

หลวงปู่ทวด-พิฆเนศวร หลวงพ่อเสนอ วัดบ้านทุ่งเสรีใน สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริเห็นว่าอาณาบริเวณที่ดินแถวนั้นกลางทุ่งใหญ่บางตอนเป็นที่ ดอนสูงๆ ต่ำๆ น้ำหลากไปไม่ถึง การทำนาไม่ได้ผล จึงได้โปรดฯ ให้ขุดคลองลัดจากคลองพระโขนงมาบรรจบกับคลองกระจะเพื่อเชื่อมกับคลองแสนแสบ ให้เป็นทางระบายน้ำ ส่งน้ำให้บำรุงนาในที่ดอนและให้เป็นทางคมนาคมสัญจรไปมาหาสู่กัน โดยการเกณฑ์พวกทาสไพร่หลวงเชื้อสายลาวมาช่วยกันขุดคลองสายนี้จนสำเร็จ และได้ชื่อว่า "คลองลาว" มาจนถึงทุกวันนี้

ที่ดินซึ่งอยู่ตามแนวคลอง ลาว มาบรรจบกับคลองกระจะฝั่งเหนือจนถึงริมคลองแสนแสบนี้ บางตอนเป็นที่ดินพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าหญิง แม้นเขียน พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ร.2) พระองค์เจ้าหญิงแม้นเขียนทรงเป็นผู้มีน้ำพระทัยเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธ ศาสนาอย่างลึกซึ้ง ทรงเห็นว่าขณะนั้นมีบรรดาข้าทาสบริพารตลอดจนประชาชนชาวพุทธอยู่อาศัยใกล้ๆ กับ บริเวณที่นาของพระองค์เป็นจำนวนมาก แต่บริเวณที่ใกล้เคียงแถวนั้นกลับไม่มีวัดหรือศาสนสถาน สำหรับประกอบกิจบำเพ็ญกุศลตามประเพณีในทางศาสนา คงมีแต่เพียง "วัดมหาบุศย์" ซึ่งเป็นต้นกำเนิดเรื่องผีนางนาคพระโขนง อยู่ริมคลองพระโขนง ซึ่งก็ไกลเหลือเกินสำหรับการบำเพ็ญบุญกุศลตามประเพณีนิยมทางศาสนาในสมัยนั้น

พระราชดำริเช่นนี้แล้วจึงได้โปรดให้สร้างวัดขึ้นในที่ดิน อันเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ระหว่างคลองลาวบรรจบกับคลองกระจะ รวมเป็นเนื้อที่ประมาณ 9 ไร่เศษ และได้ขนานนามวัดนี้ว่า "วัดบ้าน ทุ่งแม้นเขียน" ซึ่งชาวบ้านทั่วไปพากันเรียกสั้นๆ ว่า "วัด บ้านทุ่งเสรี"

จนกระทั่ง "พระครูปลัดเสนอ อนังคโน" ศิษย์เอกของหลวงพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช ผู้ซึ่งมีความอดทนอุตสาหะพากเพียร ยอมสละแม้แรงกายแรงใจ มุ่งพัฒนาสร้างขึ้นมาใหม่ทั้งหมด

"หลวงพ่อเสนอ" ท่านเป็นชาวอำเภอฉวาง จ.นครศรีธรรมราช บวชแล้วศึกษาพุทธาคมกับพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ จากนั้นก็ศึกษากับหลวงพ่อสงฆ์ วัดศาลาลอย และในเวลาต่อมาหลวงพ่อ เสนอได้เรียนกับหลวงปู่โต๊ะ ที่วัดประดู่ฉิมพลี เป็นเวลา 12 ปี หลวงปู่โต๊ะละสังขาร บรรดาศรัทธาญาติโยมจึงได้นิมนต์ให้ท่านมาพัฒนาวัดร้างทุ่งแม้นเขียน หรือวัดบ้านทุ่งเสรี หัวหมาก รามคำแหง ซอย 24 กรุง เทพฯ ใช้เวลาไม่นานนักจากวัดที่รกร้างจนเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองที่เห็นใน ปัจจุบันนี้

"หลวงพ่อเสนอ" ท่านได้ดำริจัดสร้าง "หลวงปู่ทวด-พระพิฆเนศวร" พลังสเคลาร์บวกพลัง 108 บารมี นำเข้าพิธีพุทธาภิเษก เทวาภิเษก เมื่อวันที่ 29 ส.ค.2552 ณ วัดดอนบุพผา อ.ศรีประจัน จ.สุพรรณบุรี พิธีครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 9 ก.ย.2552 ณ อุโบสถวัด ทุ่งเสรี กรุงเทพฯ พิธีครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 4 ต.ค.2552 วัดพระธาตุผาเงา จ.เชียงราย พิธีครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 19 พ.ย.2552 ณ อุโบสถวัดบ้านทุ่งเสรี กรุงเทพฯ พิธีครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2552 วัดหาดสูง อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช สุดยอดพระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศ ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสก

วัตถุมงคลรุ่นนี้ปัจจุบันได้รับความ นิยมจากนักสะสมอย่างมาก เป็นสิ่งที่มีค่าสูงสุดประมาณ มีปาฏิหาริย์สุดบรรยาย มีอานุภาพสุดคณานับ เป็นที่ยอมรับกันในหมู่ศิษย์ว่า ใครมีบูชาติดตัวแล้วชีวิตเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน ค้าขายร่ำรวย

สนใจ ร่วมบุญบูชาหลวงปู่ทวด-พระพิฆเนศวร-มงคลจักรวาลพระตรัสรู้-รูปเหมือนพ่อท่าน คล้ายทรงกลม พลังสเคลาร์บวกพลัง 108 บารมี เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองและครอบครัว ติดต่อได้ที่ วัดบ้านทุ่ง เสรี หัวหมาก ซอย 24 กรุงเทพฯ โทร. 0-2314-1406, 0-2318-4643, 08-6506-7898

รายได้สมทบทุนสร้างสำนักปฏิบัติธรรมสวนพระหินเขาโพธิ์ ก.ม.430 ต.ทรายทอง อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์
แหล่งข่าวจากหนังสือ พิมพ์ข่าวสดข่าวสด

คอลัมม์นี้ทางเว็บไม่มี วัตถุมงคลให้เช่าบูชา

เหรียญรุ่น ณ เมตตา ครูบาน้อย เตชปัญโญ วัดศรีดอนมูล "พระครูสิริศีลสังวร" หรือ "ครูบาน้อย เตชปัญโญ" เจ้าอาวาสวัดศรีดอนมูล ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เป็นพระเกจิชื่อดังที่ชาวล้านนายกย่องให้เป็นพระยอดกตัญญูแห่งล้านนา ครูบาน้อยได้เข้านิโรธกรรม โดยศึกษาประ วัติจากครูบาเจ้าศรีวิชัย จนมาศึกษาวิธีปฏิบัติการเข้านิโรธกรรม เพื่ออธิษฐานจิตให้ครูบาผัด พระอาจารย์ให้หายจากอาการอาพาธ ด้วยถือเป็นหนทางสุดท้าย ต่อมาการเข้านิโรธกรรมของครูบาน้อยสัมฤทธิผล ครูบาผัด อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีดอนมูล พระเกจิชื่อดังอีกท่านหนึ่งของล้านนาที่อยู่ในอาการอาพาธป่วยหนักได้หายลง เหรียญรุ่น ณ เมตตา ครูบาน้อยนับแต่นั้นมาครู บาน้อยได้ถือการเข้า- ออกนิโรธกรรม เพื่ออธิษฐานจิตให้กับครูบาอาจารย์ มารดา จนกระทั่งครูบาน้อยมี วัย วุฒิ 60 ปี ทั้งนี้ คณะศิษยานุศิษย์และคณะกรรมการวัดศรีดอนมูล รวมทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชน จึงได้ประชุมปรึกษาหารือกันและได้มีมติสร้างเหรียญ ครบรอบ 60 ปี ครูบาน้อย เตชปัญโญ เหรียญวัตถุมงคลครูบาน้อย มีชื่อรุ่นว่า "ณ เมตตา" คณะผู้จัดสร้างได้นำเหรียญมงคลนี้เข้าไปในพิธีเข้า-ออกนิโรธกรรม ปี ที่ 17 เมื่อวันที่ 4-7 กุมภาพันธ์ 2553 โดยครูบาน้อยได้ นั่งอธิษฐานจิตเหรียญดังกล่าวไปพร้อมกับการเข้าออกนิโรธกรรม เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน รายได้ทั้งหมดสมทบทุนนำไปซื้อที่ดินสร้างโรงพยาบาลตำบลชมภู สำหรับ เหรียญครูบาน้อย รุ่น ณ เมตตา มีพุทธคุณแคล้วคลาดปลอดภัยจากภยันตรายสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ รวมทั้งป้องกันสิ่งอัปมงคลภูตผีปีศาจ รวมทั้งมีพุทธคุณด้านเมตตามหานิยม สมปรารถนาทุกประ การ นอกจากนี้ มีเหรียญวัตถุมงคลที่ทำออกมารุ่นเดียวกันกับเหรียญครูบา น้อย รุ่น ณ เมตตา ประกอบด้วย เหรียญครูบาน้อย รุ่นกินไม่หมด, เหรียญสองหน้า และพระอุปคุต เหรียญครูบาน้อยมีทั้งหมด 5 แบบ เป็นเหรียญเงินลงยา, เหรียญเงินบริสุทธิ์, เหรียญนวโลหะ, เหรียญสามกษัตริย์, เหรียญทองผสม จำนวน การจัดสร้างเนื้อเงินลงยา 199 เหรียญ เนื้อเงินบริสุทธิ์ 199 เหรียญ เนื้อนวโลหะ 299 เหรียญ เนื้อสามกษัตริย์ 999 เหรียญ เนื้อทองผสม 2,999 เหรียญ ราคาเช่าบูชาตั้งแต่ 99-3,000 บาท ประกอบพิธีเมื่อวันพุธที่ 2 ธันวาคม 2552 ชาวล้านนาถือว่าเป็นวันที่พระอุปคุตออกบิณฑบาตโปรดศรัทธาสาธุชน ใครได้ใส่บาตรพระในวันดังกล่าวจะทำให้ชีวิตมีความเจริญรุ่งเรือง ทั้ง นี้ เหรียญครูบาน้อย รุ่น ณ เมตตา เป็นเหรียญกลมลงยา ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปครูบาน้อยนั่งขัดสมาธิเต็มองค์ ลงสีจีวรเป็นสีเหลือง มือข้างหนึ่งถือลูกประคำ ลงอักขระยันต์ด้านข้างรูปเหมือน ส่วนใต้รูปเหมือนลงยันต์นะเมตตา ด้านหลังเหรียญเป็นรูปยันต์อักขระ ใต้ยันต์เขียนคำว่า "พระครูบาน้อย เตชปญโญ วัดศรีดอนมูล จ.เชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๕๓" ผู้ที่สนใจหาเช่าบูชาได้ที่วัดศรีดอนมูลเพียงแห่งเดียว เท่านั้น รายได้จากการเช่าบูชาทั้งหมดนำไปซื้อที่ดิน เพื่อสร้างโรงพยาบาลประจำตำบลชมภูต่อไป แหล่งข่าวจากหนังสือ พิมพ์ข่าวสดข่าวสด คอลัมม์นี้ทางเว็บไม่มี วัตถุมงคลให้เช่าบูชา

เหรียญรุ่น ณ เมตตา ครูบาน้อย เตชปัญโญ วัดศรีดอนมูล

"พระครูสิริศีลสังวร" หรือ "ครูบาน้อย เตชปัญโญ" เจ้าอาวาสวัดศรีดอนมูล ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เป็นพระเกจิชื่อดังที่ชาวล้านนายกย่องให้เป็นพระยอดกตัญญูแห่งล้านนา ครูบาน้อยได้เข้านิโรธกรรม โดยศึกษาประ วัติจากครูบาเจ้าศรีวิชัย จนมาศึกษาวิธีปฏิบัติการเข้านิโรธกรรม เพื่ออธิษฐานจิตให้ครูบาผัด พระอาจารย์ให้หายจากอาการอาพาธ ด้วยถือเป็นหนทางสุดท้าย ต่อมาการเข้านิโรธกรรมของครูบาน้อยสัมฤทธิผล ครูบาผัด อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีดอนมูล พระเกจิชื่อดังอีกท่านหนึ่งของล้านนาที่อยู่ในอาการอาพาธป่วยหนักได้หายลง

เหรียญรุ่น ณ เมตตา ครูบาน้อยนับแต่นั้นมาครู บาน้อยได้ถือการเข้า- ออกนิโรธกรรม เพื่ออธิษฐานจิตให้กับครูบาอาจารย์ มารดา จนกระทั่งครูบาน้อยมี วัย วุฒิ 60 ปี ทั้งนี้ คณะศิษยานุศิษย์และคณะกรรมการวัดศรีดอนมูล รวมทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชน จึงได้ประชุมปรึกษาหารือกันและได้มีมติสร้างเหรียญ ครบรอบ 60 ปี ครูบาน้อย เตชปัญโญ

เหรียญวัตถุมงคลครูบาน้อย มีชื่อรุ่นว่า "ณ เมตตา" คณะผู้จัดสร้างได้นำเหรียญมงคลนี้เข้าไปในพิธีเข้า-ออกนิโรธกรรม ปี ที่ 17 เมื่อวันที่ 4-7 กุมภาพันธ์ 2553 โดยครูบาน้อยได้ นั่งอธิษฐานจิตเหรียญดังกล่าวไปพร้อมกับการเข้าออกนิโรธกรรม เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน รายได้ทั้งหมดสมทบทุนนำไปซื้อที่ดินสร้างโรงพยาบาลตำบลชมภู

สำหรับ เหรียญครูบาน้อย รุ่น ณ เมตตา มีพุทธคุณแคล้วคลาดปลอดภัยจากภยันตรายสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ รวมทั้งป้องกันสิ่งอัปมงคลภูตผีปีศาจ รวมทั้งมีพุทธคุณด้านเมตตามหานิยม สมปรารถนาทุกประ การ

นอกจากนี้ มีเหรียญวัตถุมงคลที่ทำออกมารุ่นเดียวกันกับเหรียญครูบา น้อย รุ่น ณ เมตตา ประกอบด้วย เหรียญครูบาน้อย รุ่นกินไม่หมด, เหรียญสองหน้า และพระอุปคุต เหรียญครูบาน้อยมีทั้งหมด 5 แบบ เป็นเหรียญเงินลงยา, เหรียญเงินบริสุทธิ์, เหรียญนวโลหะ, เหรียญสามกษัตริย์, เหรียญทองผสม

จำนวน การจัดสร้างเนื้อเงินลงยา 199 เหรียญ เนื้อเงินบริสุทธิ์ 199 เหรียญ เนื้อนวโลหะ 299 เหรียญ เนื้อสามกษัตริย์ 999 เหรียญ เนื้อทองผสม 2,999 เหรียญ ราคาเช่าบูชาตั้งแต่ 99-3,000 บาท ประกอบพิธีเมื่อวันพุธที่ 2 ธันวาคม 2552 ชาวล้านนาถือว่าเป็นวันที่พระอุปคุตออกบิณฑบาตโปรดศรัทธาสาธุชน ใครได้ใส่บาตรพระในวันดังกล่าวจะทำให้ชีวิตมีความเจริญรุ่งเรือง

ทั้ง นี้ เหรียญครูบาน้อย รุ่น ณ เมตตา เป็นเหรียญกลมลงยา ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปครูบาน้อยนั่งขัดสมาธิเต็มองค์ ลงสีจีวรเป็นสีเหลือง มือข้างหนึ่งถือลูกประคำ ลงอักขระยันต์ด้านข้างรูปเหมือน ส่วนใต้รูปเหมือนลงยันต์นะเมตตา ด้านหลังเหรียญเป็นรูปยันต์อักขระ ใต้ยันต์เขียนคำว่า "พระครูบาน้อย เตชปญโญ วัดศรีดอนมูล จ.เชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๕๓"

ผู้ที่สนใจหาเช่าบูชาได้ที่วัดศรีดอนมูลเพียงแห่งเดียว เท่านั้น รายได้จากการเช่าบูชาทั้งหมดนำไปซื้อที่ดิน เพื่อสร้างโรงพยาบาลประจำตำบลชมภูต่อไป
แหล่งข่าวจากหนังสือ พิมพ์ข่าวสดข่าวสด

คอลัมม์นี้ทางเว็บไม่มี วัตถุมงคลให้เช่าบูชา

ตาเฒ่าชูชก ปากแดง (ตาเฒ่า เจ้าทรัพย์) หลวงปู่ขุ้ย ฐิตธัมโม วัดซับตะเคียน

ตาเฒ่าชูชก ปากแดง (ตาเฒ่า เจ้าทรัพย์) หลวงปู่ขุ้ย ฐิตธัมโม วัดซับตะเคียน

พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง "หลวงปู่ขุ้ย ฐิตธัมโม" ต.ท่าด้วง อ.หนองไผ่ จ.เพชร บูรณ์ ท่านเป็นศิษย์เอกสืบสายวิทยาคมจาก "หลวงพ่อทบ" ตอนที่ท่านอายุได้ 12 ปี บิดาถึงแก่กรรม จึงได้บรรพชาให้โยมบิดา แต่ด้วยความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า แม้จะเสร็จงานศพบิดา แต่ไม่ยินยอมลาสึก ขออนุญาตโยมมารดาบวชเรียนต่อ


หลวงปู่ขุ้ยหลัง จากบวชแล้วได้ เรียนวิชากับหลวงพ่อทบ และเดินธุดงค์มากว่า 50 ปี สร้างวัตถุมงคลดังในยุทธการเขาค้อ และสุดยอดวัตถุมงคลเครื่องรางของขลังที่ได้รับความนิยมในหมู่ลูกศิษย์ลูกหา และนักสะสมกล่าวขวัญเป็นอย่างมาก เหมาะกับยุคเศรษฐกิจตกต่ำ ต้องเครื่องรางของขลังประเภท "ชูชก"

ชู ชก คือพราหมณ์ชรา ภารทวาชโคตร ซึ่งหาเลี้ยงชีพด้วยการขอทาน อาศัยอยู่ที่บ้านพราหมณ์ชื่อทุนวิฏฐะ ในกลิงคราษฎร์ ได้เมียสาวสวยชื่อ นางอมิตตดา เมื่อได้นางอมิตตดาซึ่งเป็นสาวสวยแรกรุ่นเป็นภรรยา จึงหลงใหลนางมาก นางอมิตตดาได้ปรนนิบัติสามีเป็นอย่างดีตามหน้าที่ของภรรยาทุกประการ
ตาเฒ่าชูชก ปากแดง


พระเกจิอาจารย์ในอดีตจวบจนปัจจุบันนิยมสร้างเครื่องรางของขลัง "ชู ชก" เพราะขอเก่ง ขอได้แม้กระ ทั่งลูก มีเมียสวย

หลวงปู่ขุ้ยท่านได้จัด สร้างวัตถุมงคลชูชก ด้วยการลงยันต์จินดามณีเต็มสูตร ที่พระสังข์เรียกเนื้อเรียกปลาได้ ผู้นำไปบูชาก็เรียกเงินทองโชคลาภได้เช่นกัน ชูชกรุ่นแรกของหลวงปู่ ขุ้ยที่พลิกตำราเก่าดั้งเดิม ลงยันต์จินดามณีเพิ่มรูปสูตรเต็ม เสกให้คนนำเนื้อข้าวปลาอาหารบริโภคมามอบให้ เอ่ยปากขอก็ได้ ไม่ขอเขาก็เอามาประเคนถึงที่ ซึ่งปัจจุบันมีค่านิยมสูงมาก หายากเป็นที่สุด

ในปีนี้ลูกศิษย์เรียกร้องให้ "หลวงปู่ขุ้ย" สร้างชูชกอีก เพราะชูชกหลวงปู่ขุ้ยทุกรุ่นสนนราคาเล่นหาแพงไปหมดแล้ว เหตุผลหลักเลยคือ ท่านเป็นเจ้าตำรับชูชก หรือตาเฒ่าเจ้าทรัพย์ ใครๆ ก็อยากได้ชูชกที่เจ้าตำรับอย่างหลวงปู่ขุ้ยสร้าง ทั้งนั้น มีประสบการณ์ทางด้านค้าขายทำมาหากินมีโชคลาภ

เหตุ ที่หลวงปู่ขุ้ยสร้าง "ตาเฒ่าชูชกปากแดง" เพราะว่ามีทรัพย์มากที่สุด คนรวย คนมีทรัพย์ หรือคนมีเงินจะมีลักษณะพิเศษแดงอยู่ 5 จุดคือ ปากแดง 1 มือทั้ง 2 เท้าทั้ง 2 รวมเป็น 5 คนมือแดง ปากแดง เท้าแดง ไม่มีวันจน มีแต่รวย มีกินอิ่ม ไม่มีอด

ผู้ใดบูชาชูชกปากแดง นอกจากจะถูกโฉลก ปีขาล 2553 แล้ว ยังมีแต่โชคลาภร่ำรวยมั่งมีเงินมั่งมีทรัพย์ ไม่รู้จักคำว่าอดอยากยากจน คำว่าสิ้นหวังล้มเหลว ก็ไม่ต้องพบเจอไม่ต้องเข้ามาใกล้ โดยมีวิธีบูชาด้วยการจุดธูป 16 ดอก นำผลไม้ของหวาน กล้วย, อ้อย, โรตี, ขนม, นม และเนย มาถวาย ขออะไรก็ขอไป วันต่อไปถ้าทำได้ให้ไปถวายสังฆทานให้เจ้ากรรมนายเวรจะได้ผลดียิ่ง

ตาเฒ่าชูชกปากแดง พิมพ์เล็ก เนื้อทองทิพย์ จัดสร้างจำนวน 2,599 ตน พิมพ์เล็ก เนื้อนวโลหะแก่เงิน สร้างจำนวน 599 ตน พิมพ์ใหญ่ เนื้อทองทิพย์ สร้างจำนวน 1,599 ตน พิมพ์ใหญ่ เนื้อนวโลหะแก่เงิน สร้างจำนวน 599 ตน
แหล่งข่าวจากหนังสือ พิมพ์ข่าวสดข่าวสด

คอลัมม์นี้ทางเว็บไม่มี วัตถุมงคลให้เช่าบูชา

เหรียญ หลวงพ่อทุเรียน ฐิติสาโร วัดลักษณาราม

เหรียญ หลวงพ่อทุเรียน ฐิติสาโร วัดลักษณาราม

"วัดลักษณาราม" ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเพชรบุรี ต.บ้านแหลม อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี เป็นวัดเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี เมื่อครั้งที่ "พระครูวิบูลวชิรสาร" หรือ "หลวง พ่อทุเรียน ฐิติสาโร" ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเป็นรูปที่ 5 กล่าวได้ว่าหลวงพ่อทุเรียนเป็นพระนักพัฒนา ช่วยเหลือชาวบ้านผู้เดือดร้อนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความร่มเย็นเป็นสุข
 ท่านได้พัฒนาวัดอย่างต่อเนื่อง จวบจนวัดลักษณารามมีเสนาสนะพร้อมสรรพ ทั้งอุโบสถ ซุ้มประตูวัด บานประตู บานหน้าต่าง หรือตามผนังโบสถ์ ล้วนแล้วแต่งดงามวิจิตร ด้วยศิลปะสถาปัตยกรรม ไทยที่เป็นเลิศ โดยช่างฝีมือของชาวเพชรบุรี เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาพุทธศาสนิกชนทั้งในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง

หลวงพ่อทุเรียนได้มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2541 นับเป็นการสูญเสียพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่ตั้งมั่นในธรรม เป็นแบบอย่างที่ดีต่อพุทธศาสนิกชน รุ่นหลัง


เหรียญหลวงพ่อทุเรียนเหรียญหลวงพ่อทุเรียน 
ด้านหลัง
การจากไปของหลวงพ่อทุเรียนนำมาซึ่งความเศร้าสลดของคณะ ศิษย์และชาวเมืองเพชรบุรีเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น พระครูพัชรกิจจานุ กูล เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ได้เห็นถึงความศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อหลวงพ่อทุเรียน ได้จัดสร้างเหรียญที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพพระครูวิบูลวชิรสาร เพื่อนำมาแจกให้กับญาติโยมที่เข้าร่วมพิธีงานพระราชทานเพลิงศพหลวงพ่อ เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2552 ทำให้เหรียญวัตถุมงคลดังกล่าวกลายเป็นที่ต้องการของสาธุชนเรือนหมื่นที่มา ร่วมพิธี

อย่างไรก็ตาม เหรียญวัตถุมงคลหลวงพ่อทุเรียนที่ได้รับความ นิยมจากบรรดาเซียนพระและนักนิยมสะสมพระเครื่อง คือ เหรียญหลวงพ่อทุเรียน รุ่นทำบุญอายุ 70 ปี เป็นเหรียญรูปไข่ มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองแดงรมดำ โดยมีพระเกจิอาจารย์สายเมืองเพชรบุรีและสายปักษ์ใต้ รวมกว่า 10 รูปประกอบพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลเหรียญรุ่นนี้ จึงนับว่ามีความเข้มขลังในพุทธคุณเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะแค่เหรียญก็มีความศักดิ์สิทธิ์อยู่แล้ว

ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อทุเรียนครึ่งองค์ ขอบบนเขียนคำว่า "งานทำบุญอายุ ๗๐ ปี และฉลองสัญญาบัตรพัดยศชั้นเอก" ขอบล่างเขียนคำว่า "พระครูวิบูลวชิรสาร (ทุเรียน)"

ด้านหลังเหรียญ เป็นรูปหลวงปู่วัดลักษณารามนั่งเต็มองค์ บริเวณขอบเหรียญเขียนคำว่า "หลวงปู่วัดลักษณาราม อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี" ขอบล่างเขียนคำว่า "๑๖ พ.ย. ๒๓"

ทั้งนี้ ผู้ที่มีเหรียญรุ่นดังกล่าวไว้ในครอบครอง ต่างพูดถึงประสบการณ์อัศจรรย์ในการบูชาเหรียญหลวงพ่อทุเรียน ที่มีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหานิยม โชคลาภ ค้าขายดี และปกป้องคุ้มครองผู้ที่เดินทางให้แคล้วคลาดปลอดภัย
แหล่งข่าวจากหนังสือ พิมพ์ข่าวสดข่าวสด

คอลัมม์นี้ทางเว็บไม่มี วัตถุมงคลให้เช่าบูชา